สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชไร่ มีทั้งสิ้น 4 รายการ


1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,378.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 27.3 เปอร์เซ็นต์ 2. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง ให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 997.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ สุราษฎร์ธานี 3 คิดเป็น 27.7 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายคูณผลผลิตทะลายสด ทั้งนี้คู่ผสม 214 มีน้ำมันต่อทะลาย 26.8 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน (Oil extraction rate: OER) 22.8 เปอร์เซ็นต์) 3. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 8.9 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 41.3 เปอร์เซ็นต์




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,139.7 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 20.4 เปอร์เซ็นต์ 2. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง ให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 950.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ สุราษฎร์ธานี 3 คิดเป็น 21.7 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายคูณผลผลิตทะลายสด ทั้งนี้คู่ผสม 173 มีน้ำมันต่อทะลาย 27.0 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน (Oil extraction rate: OER) 23.0 เปอร์เซ็นต์) 3. ลักษณะผลมีเปลือกนอกหนาและกะลาบาง มีเปลือกนอกสดต่อผล 87.6 เปอร์เซ็นต์ และมีกะลาต่อผล 6.0 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 84.0 เปอร์เซ็นต์ และ 9.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,310.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 25.3 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 10.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 60.3 เปอร์เซ็นต์ 3. ลักษณะผลมีกะลาบาง มีกะลาต่อผล 8.7 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีกะลาต่อผล 9.7 เปอร์เซ็นต์




1. ให้ผลผลิตอ้อย 11.71 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 4 ให้ผลผลิตชานอ้อยเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 41 และ 60 ตามลำดับ มีปริมาณเยื่อใยเฉลี่ยร้อยละ 17.12 สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 37 และ 56 ตามลำดับ ให้ผลผลิตกากน้ำตาล 523 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 5 และ 3 ตามลำดับ 2. ให้พลังงานไฟฟ้า 596 กิโลวัตต์ต่อไร่ และพลังงานแก๊สชีวภาพ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ร้อยละ 11 และ 12 ตามลำดับ