สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชสวน มีทั้งสิ้น 10 รายการ


น้ำหนักผล ความหนาเนื้อผล และปริมาณน้ำยางดีกว่าพันธุ์แขกดำคือ มีน้ำหนักผลเพิ่มขึ้น 30.71 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อเทียบกับพันธุ์แขกดำ) ความหนาเนื้อผลเพิ่มขึ้น 2.98 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักยางมะละกอสดเพิ่ม 74.81 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักยางมะละกอแห้งเพิ่มขึ้น 92.86 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ปาเปนเพิ่มขึ้น 10.30เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนของปาเปนเพิ่มขึ้น 77.71 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพันธุ์ CO.2




ให้ผลผลิตสูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ คือให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,968 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ได้ 1,513 กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 23 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 13.9 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาล 2.6 เปอร์เซ็นต์ มีการแตกหน่อข้างห่างจากต้นแม่มากกว่าและมีจำนวนหน่อต่อต้น 12 หน่อ น้อยกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 25 หน่อ จึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปลิดหน่อข้างออก




ผลผลิตเฉลี่ย 1,712 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ นิโกร ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์นิโกร เปอร์เซ็นต์แป้ง 28.7 เปอร์เซ็นต์




ผลผลิตพริกแห้งเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์บางช้างประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาดคือเมื่อเป็นพริกแห้งจะมีผิวค่อนข้างเรียบเป็นมัน(พันธุ์บางช้างมีผิวค่อนข้างย่นกว่า)ใช้เวลาตากแห้งเพื่อทำพริกแห้งประมาณ 3-7 วัน ซึ่งน้อยกว่าพันธุ์บางช้าง




ผลใหญ่ เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดและเหนียวมาก เส้นใยน้อย




เนื้อหนา หวานมันพอดี เนื้อแห้ง เส้นใยน้อย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูง




เนื้อหนา สีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเส้นใยน้อยมีการสุกสม่ำเสมอทั้งผล




เนื้อมีรสชาติดีกว่าส้มโอพันธุ์ท่าข่อยทั่วไป ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี ให้ผลผลิตสูงถึงประมาณ 180 ผลต่อต้นต่อปี ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไป ที่ให้ผลผลิต 140 ผลต่อต้นต่อปี ผลค่อนข้างโต น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 153 กิโลกรัม เปอร์เซ็นต์เนื้อสูง 56.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไป




ผลผลิตสูง 168.69 กิโลกรัมต่อต้น ผลไม่แตกง่ายหรือร่วงจากขั้วเร็วเกินไป รสชาติอร่อยกว่าพันธุ์สีชมพูเป็นพันธุ์เบา สามารถเก็บเกี่ยวได้ต้นฤดู สีผลและขนสวยงาม ช่อค่อนข้างยาว เมื่อจำหน่ายเป็นเงาะช่อหรือเงาะพวงจะได้ราคาดี การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านสาขาดี




ต้นเตี้ยให้ผลเร็ว ผลผลิตเฉลี่ย 5,312 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เนื้อสีเหลือง ทนทานต่อโรคจุดวงแหวน