พืชไร่ มีทั้งสิ้น 8 รายการ
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ร้อยละ 13 และ 6 ตามลำดับ
2. ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 72.2 กรัม
3. เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง และอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 5.7 คุณภาพของถั่วงอก รสชาติหวาน กรอบ และไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว
4. เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น ลักษณะวุ้นเส้นมีสีขาวใส และเหนียวนุ่ม
5. การสุกแก่ของฝักสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน
1. ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,092 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่านครสวรรค์ 2 ร้อยละ 7 และผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์นครสวรรค์ 3 และพันธุ์ลูกผสมการค้า
2. มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 695 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่านครสวรรค์ 3 ร้อยละ 12 เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน โดยผลผลิตลดลงร้อยละ 49 ในขณะที่พันธุ์นครสวรรค์ 3 ผลผลิตลดลงร้อยละ 54 จากสภาพให้น้ำสม่ำเสมอ
3. เก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย
4. มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ในระดับปานกลาง
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 10 และใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า
2. มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 749 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน (ผลผลิตลดลงร้อยละ 49 จากสภาพให้น้ำสม่ำเสมอ) สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 27
3. มีความต้านทานต่อโรคทางใบที่สำคัญ ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maize dwarf mosaic virus (SCMV-MDB)
4. สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นที่อายุ 95-100 วัน ฝักแห้งเร็ว หรือมีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ต้นยังเขียวสด
1. มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 8 เดือน
2. ผลผลิตหัวสดสูงเฉลี่ย 4,632 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นร้อยละ 10 18 5 และ 4 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน
3. เปอร์เซ็นต์แป้งสูงเฉลี่ย 29.2 สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 คิดเป็นร้อยละ 4 1 และ 5 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน
4. ผลผลิตแป้งสูงเฉลี่ย 1,355 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50
คิดเป็นร้อยละ 13 18 10 และ 2 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน
1. ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 5,647 ลิตร/ไร่ เปอร์เซ็นต์หีบ 38.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 14 และ 13 ตามลำดับ มีความหวาน 19.1 องศาบริกซ์ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และมีกลิ่นหอม
2. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.47 ตัน/ไร่ โดยให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 14 มีความหวานเฉลี่ย 13.69 ซีซีเอส และให้ผลผลิตน้ำตาล 2.53 ตันซีซีเอส/ไร่
3. ต้านทานโรคแส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง
1. ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 196 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 ร้อยละ 68
2. ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่นฝ้าย
3. ต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดี ในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 3
4. สมอมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 โดยมีน้ำหนักปุย 4.91 กรัมต่อสมอ
5. เปอร์เซ็นต์หีบ ความยาว และความละเอียดอ่อนของเส้นใย ดีกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 โดยฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 มีเปอร์เซ็นต์หีบ 36.4 % มีความยาวเส้นใย 1.02 นิ้ว ซึ่งจัดเป็นฝ้ายเส้นใยยาวปานกลางและมีความละเอียดอ่อนของเส้นใยในระดับปานกลาง (4.4) ในขณะที่พันธุ์ตากฟ้า 3 มีเปอร์เซ็นต์หีบที่ต่ำกว่าคือ 32.9 % มีความยาวเส้นใยเพียง 0.84 นิ้ว ซึ่งจัดเป็นฝ้ายเส้นใยสั้น และมีความหยาบของเส้นใยมากกว่า (5.3)
1. ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,132 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 84-1 ร้อยละ 3 และพันธุ์ สวีทแวกซ์ 254 ร้อยละ 20 และให้ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,306 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ชัยนาท 84-1 และสูงกว่าพันธุ์สวีทแวกซ์ 254 ร้อยละ 3
2. เมล็ดมีสีขาวม่วง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค
3. คุณภาพเหนียวนุ่ม เหมาะกับการรับประทานฝักสด
4. ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว
1. ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์มาตรฐานที่อยู่ในกลุ่มขนาดเมล็ดปานกลาง โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 52.8 กรัม โตกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่มีน้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 44.2 และ 48.5 กรัม ร้อยละ 19 และ 9 ตามลำดับ
2. ให้ผลผลิตฝักแห้ง 264 กิโลกรัมต่อไร่สูงกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่มีผลผลิตฝักแห้งเท่ากับ 247 และ 250 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 7 และ 6 ตามลำดับ