สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




ข้าว มีทั้งสิ้น 15 รายการ


ชูรวงและระแง้ถี่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 247 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้และต้านทานโรคเมล็ดด่างได้ดีในสภาพธรรมชาติเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศหนาวและบนที่สูงตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูง




ผลผลิตประมาณ 425 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดดีกว่าพันธุ์ กข 19 มีปริมาณท้องไข่น้อย เพียง 1.81 มีความสามารถในการทนแล้งได้ดี ต้านทานโรคไหม้ มีปริมาณอมัยโลสต่ำกว่าพันธุ์ กข 19 และคุณภาพข้าวสุกนุ่มกว่า




ผลผลิตเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ ลำต้นไม่ล้มง่าย ปรับตัวได้ดีในสภาพไร่ทั่วไป ต้านทานโรคไหม้ต้านทานโรคหูดปานกลาง




ผลผลิต 280 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน ต้านทานต่อโรคราสนิมปานกลาง เมล็ดค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์สะเมิง 1 และพันธุ์สะเมิง 2 เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีเหลืองนวล แป้งที่ได้เหมาะสำหรับการทำคุกกี้ บิสกิต และขนมปัง




ผลผลิตเฉลี่ย 285 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิมปานกลาง เมล็ดขนาดใหญ่กว่า พันธุ์สะเมิง 1 และพันธุ์สะเมิง 2 เยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลืองนวล แป้งใช้ประโยชน์เอนกประสงค์ แต่ที่เหมาะสมคือทำคุกกี้ปาท่องโก๋ และโรตี




ผลผลิต 248 กิโลกรัมต่อไร่ นวดง่าย ออกรวง 17-22 กันยายน ในระดับความสูง 800-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ข้าวสุกค่อนข้างแข็งมีกลิ่นหอมเล็กน้อย มีความต้านทานต่อโรคไหม้สูง มีความต้านทานปานกลางต่อโรคขอบใบแห้ง




อายุสั้นทนแล้งดีกว่าซิวแม่จันเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรให้ผลผลิต 252 กิโลกรัมต่อไร่ อายุประมาณ 106-134 วัน มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้




ผลผลิตสูงในที่ลุ่มสภาพนาน้ำฝนและมีเสถียรภาพมากให้ผลผลิต 564 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพเรือนทดลอง ทนทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสภาพนา ที่ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย ตั้งตัวได้เร็วหลังปักดำ และทนทานต่อการทำลายของปู ทนดินเค็ม ปานกลาง




ผลผลิตเฉลี่ย 457 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวที่มีระบบรากแข็งแรง ตั้งตัวได้เร็ว คอรวงยาวเหมาะที่จะเก็บเกี่ยวด้วยแกระ จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก คุณภาพข้าวสุกมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ ช่อจังหวัด คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีกว่าพันธุ์ กข 13 มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบเล็กน้อย เมล็ดมีน้ำหนักดี ทนแล้งได้ดีในระยะแตกกอให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองในสภาพนาน้ำฝนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง




ผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ คือในสถานีเฉลี่ย 557 กิโลกรัมต่อไร่ ในนาราษฎร์ 550 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพได้มาตรฐาน มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและโรคใบหยิกได้ดีกว่าพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และต้านทานแมลงบั่ว




ผลผลิตเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวมีกลิ่นหอมคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่หุงสุกแล้วร่วนแบบเดียวกับข้าวขาวตาแห้ง 17 คุณภาพเมล็ดดี ยาวเรียว เลื่อมมันใสเป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีเป็นข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานโรคกาบใบเน่าโรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติ




ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ กข 1 กข 7 และ กข 23 คุณภาพได้มาตรฐานทำข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ได้ ต้านทานโรคกาบใบเน่า และค่อนข้างต้านทานโรคไหม้โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง




ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า กข 7 ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าพันธุ์ กข 7 ต้านทานโรคไหม้ดีกว่าพันธุ์ กข 23 คุณภาพเมล็ดดี เมล็ดยาวเรียวสม่ำเสมอดีมาก เมล็ดใสเป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มรับประทานดีเช่นเดียวกับพันธุ์ กข 23 ตอบสนองต่อปุ๋ยในระดับเศรษฐกิจสูง




ผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 330 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าปลูกในสภาพที่เหมาะสมให้ผลผลิตสูงถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ สะเมิง 1 ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ สามารถปรับตัวได้ดีในท้องถิ่นที่มีสภาพร้อนและแห้งแล้ง ความสามารถในการปรับตัวเฉลี่ยทั่วประเทศพบว่า ดีกว่าพันธุ์ สะเมิง 1 และแพร่ 60 ค่อนข้างต้านทานต่อโรคราสนิมใบ ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium มีการทำลายของหนอนกอน้อยมากเมื่อเทียบกับพันธุ์ สะเมิง 1




เมล็ดมีสีเหลืองนวล ให้แป้งชนิดอเนกประสงค์ เหมาะสำหรับทำคุกกี้ บิสกิต และขนมปัง และทำแบะแซได้ดีด้วย สามารถปรับตัวได้ดีในภาคเหนือและในที่สูง คือสามารถจะขึ้นได้ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานพันธุ์ สะเมิง 1 พันธุ์สะเมิง 2 พันธุ์แพร่ 20 และพันธุ์ฝาง 60 และสามารถปรับตัวทั่วประเทศได้ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานทั้งสิ้น ยกเว้นพันธุ์ฝาง 60 ผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 330 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ผลผลิตสูงถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานสะเมิง 1 มีการเข้าทำลายของหนอนกอน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ