สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชสวน มีทั้งสิ้น 9 รายการ


1. การให้ผลผลิต 1.1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,069 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์Bella 20 และ 18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 1.2 ให้ผลผลิตได้มาตรฐานการส่งออกเฉลี่ย 2,375 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์Bella 63 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 2. รูปร่างฝักตรง ห้าเหลี่ยม ขนนุ่ม สีเขียวสม่ำเสมอทั้งฝัก คุณภาพฝักได้ตามมาตรฐานการส่งออกและตลาดภายในประเทศ




1. ให้ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,073 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 43 เปอร์เซ็นต์ 2. ให้ผลผลิตแห้งเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 52 เปอร์เซ็นต์ 3. ให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์เฉลี่ย 4.38 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 36 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 29 เปอร์เซ็นต์




1. ผลผลิต 7.20 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 33 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณวิตามินซี 30.03 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 23 เปอร์เซ็นต์ 3. ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (Total Acid, TA) 0.52 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 22 เปอร์เซ็นต์ 4. อัตราส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (Brix/Acid ratio) 33.26 สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 31 เปอร์เซ็นต์ 5. เนื้อแน่น นุ่มละเอียด เมื่อสุกเนื้อสีเหลืองเข้ม




1. ผลผลิตเฉลี่ย 1,942 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ร้อยละ 46.27 2. อายุเก็บเกี่ยวฝักแรก 44 วันหลังปลูก เร็วกว่าพันธุ์น่าน 1 เท่ากับ 5 วัน 3. สีฝักสดมีสีม่วงเข้มกว่าพันธุ์น่าน 1 มีปริมาณสารแอนโทไซยานินเฉลี่ย 187.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ที่มีค่าเท่ากับ 115.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด 4. ความหนาเนื้อเฉลี่ย 2.05 มิลลิเมตร มากกว่าพันธุ์ น่าน 1 ที่มีความหนาเนื้อเฉลี่ย 1.53 มิลลิเมตร 5. ฝักตรง ผิวฝักย่น มีความยาวฝักสดเฉลี่ย 44.88 เซนติเมตร และมีความยาวฝักสูงสุด 49.46 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการรับประทานฝักสด เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด




1. ความต้านทานต่อโรคราสนิมสูง 2. ผลผลิตน้าหนักสด 3,086.80 กรัมต่อต้น ผลผลิตสารกาแฟ (green bean หรือ coffee bean) เฉลี่ย 567.60 กรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 540 กรัมต่อต้น 3. ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.92 เปอร์เซ็นต์ 4. คุณภาพการชิม (cup quality test) 76.75 คะแนน เปรียบเทียบกับ พันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้ 76 คะแนน




1. ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 2,285.16 กรัม/ตารางเมตร เมื่อใช้ฟางข้าวและขี้ฝ้ายเป็นวัสดุเพาะ สูงกว่า เห็ดฟาง-2 สายพันธุ์เดิม ซึ่งให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 601.56 กรัม/ตารางเมตร คิดเป็น 300 เปอร์เซ็นต์ 2. ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 3,450.93 กรัม/ตารางเมตร เมื่อใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันเป็นวัสดุเพาะ สูงกว่าเห็ดฟาง-2 สำยพันธุ์เดิม ซึ่งให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 648.43 กรัม/ตารางเมตร คิดเป็น 500 เปอร์เซ็นต์ 3. ลักษณะดอกตูมเป็นทรงน้ำเต้า ฐานกว้างขนาด 11 -58 มิลลิเมตร ยาว 14 -58 มิลลิเมตร ดอกสีน้ำตาลอ่อนถึงเทาอมดำอ่อน ขนาดและรูปร่างของดอกตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน สินค้าเกษตรของเห็ดฟาง (มกษ. 1515-2558) 4. เริ่มเก็บผลผลิตได้หลังลดอุณหภูมิในโรงเรือนลงประมาณ 7 วัน และใน 1 รอบการผลิต มีระยะเวลาการเก็บผลผลิตได้นาน 2 - 3 สัปดาห์




1. ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 127.09 กรัม/ถุง (900 - 950 กรัม) ซึ่งสูงกว่าเห็ดเป๋าฮื้อสายพันธุ์เดิม ที่ให้บริการของกรมวิชาการเกษตร คือ เห็ดเป๋าฮื้อ-3 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 98.60 กรัม/ถุง (900 - 950 กรัม) เท่ากับให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 28.89 เปอร์เซ็นต์ 2. ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่ ก้านอวบ โดยมีขนาดกว้าง 10.91 เซนติเมตร สูง 7.93 เซนติเมตร และหนา 2.55 เซนติเมตร ขอบดอกเห็ดค่อนข้างเรียบ ก้านอวบ ขนาดยาวปานกลาง มีขนาดกว้าง 2.81 เซนติเมตร ยาว 3.98 เซนติเมตร เนื้อแน่น มีความแน่นเนื้อ 0.7 กิโลกรัมแรง ซึ่งดีกว่าเห็ดเป๋าฮื้อสายพันธุ์เดิมของกรมวิชาการเกษตร คือ เห็ดเป๋าฮื้อ-3 ที่มีขนาดกว้าง 9.41 เซนติเมตร สูง 7.56 เซนติเมตร และหนา 1.80 เซนติเมตร ก้านยาวเล็ก มีขนาดกว้าง 1.84 เซนติเมตร ยาว 5.85 เซนติเมตร เนื้อดอกมีความแน่นเนื้อ 0.66 กิโลกรัมแรง 3. ขนาดและรูปร่างของดอกตรงตามเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เห็ดสกุลนางรม (มกษ.1514 - 2555) โดยมีขนาดดอกเห็ดอยู่ในรหัสขนาด 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 7 เซนติเมตร (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2555)




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 2,557.10 กรัมต่อตะกร้า (วัสดุเพาะ 5 กิโลกรัม) เมื่อเพาะในระบบปิดควบคุมอุณหภูมิ 18 - 20 องศาเซลเซียส 2. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 3,040 กรัมต่อตารางเมตร เมื่อเพาะในระบบเปิดแบบเพาะชั้นช่วงอุณหภูมิ 18 – 23 องศาเซลเซียส 3. ดอกมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเฉลี่ย 35.0 – 55.0 กรัมต่อดอก




1. ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 152.68 กรัม/ถุงอาหารเพาะ (800 กรัม)/รอบการผลิต 2 เดือน สูงกว่าเห็ดภูฏาน-3 สายพันธุ์เดิม ซึ่งให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 127.88 กรัม/ถุงอาหารเพาะ คิดเป็น 19.39 เปอร์เซ็นต์ 2. ดอกเห็ดมีสีเทา ออกดอกเป็นกลุ่ม 2 - 13 ดอก/ช่อ มีขนาดตรงตามเกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง เห็ดสกุลนางรม (มกษ.1514 – 2555) โดยมีขนาดดอกเห็ดอยู่ในรหัสขนาด 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง มากกว่า 7 เซนติเมตร และรหัสขนาด 2 เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.60 – 7.00 เซนติเมตร (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2555)