สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชสวน มีทั้งสิ้น 25 รายการ


1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 102 ผล/ต้น/ปี หรือ 2,252 ผล/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 25 2. ผลขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,882 กรัม/ผล มากกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 หรือเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร 3. น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ยสูง 337 กรัม/ผล/ปี หรือ 766 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 34 และ53 ตามลำดับ 4. น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 31 และ50 ตามลำดับ









1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557) 2. สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน 3. มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม




1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557) 2. สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน 3. มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม




1. ลักษณะช่อดอกเป็นทรงกระบอกสั้น กลีบประดับสีชมพูเข้ม กลีบเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบสวยงามและบิดเป็นเกลียว ส่วนพันธุ์ไทยบิวตี้ กลีบประดับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 2. ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 50 - 70 วัน น้อยกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่ใช้เวลา 80 - 83 วัน 3. ผลผลิตช่อดอกมาก 3 - 4 ดอก/กอ มากกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่มีจำนวน 2 - 3 ดอก/กอ 4. อายุการใช้งานนาน 4 - 7 สัปดาห์ มากกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่มีอายุการใช้งานนานประมาณ 4 - 5 สัปดาห์




1. ลักษณะช่อดอกเป็นรูปทรงกระสวย สวยงาม แปลกใหม่ กลีบประดับทั้งส่วนบนและส่วนล่างมีสีชมพู ดูอ่อนหวาน ส่วนลักษณะช่อดอกของปทุมมาเชียงใหม่ชมพู เป็นทรงดอกบัว 2. ผลผลิตช่อดอกมาก 6 - 8 ดอก/กอ มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่ออกดอก 3 - 6 ดอก/กอ 3. การแตกกอดี ผลผลิตหัวพันธุ์ 5 - 9 หัว/กอ มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มี 4 - 7 หัว/กอ 4. อายุปักแจกันนาน 13 วัน มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มีอายุปักแจกัน 9 วัน




1. ผลผลิตสดเฉลี่ยสูงถึง 1,596 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เกษตรกร 10.60 เปอร์เซ็นต์ 2. มีค่าความเผ็ดเท่ากับ 73,879 SHU ค่าความเผ็ดต่ำกว่าพันธุ์เกษตรกร (220,169 SHU) จัดเป็นพริกที่มีความเผ็ดต่ำ เหมาะกับการเป็นพริกบริโภคสด




1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร 23% สูงเทียบเท่าพริกลูกผสมแม่ปิง 80 ในฤดูปลูกปกติ (แล้ง) และให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อปลูกในช่วงที่มีฝนตกชุก พริกใหญ่พันธุ์พิจิตร 2 ให้ผลผลิต 2,174 – 2,926 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพริกแม่ปิง 80 ให้ผลผลิต 1,289 – 3,298 กิโลกรัมต่อไร่ 2. มีต้นสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้าทำให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว โดยมีต้นสูง 78.3 เซนติเมตร พริกพื้นเมืองสูงประมาณ 57 เซนติเมตร ส่วนพริกแม่ปิง 80 สูงประมาณ 72 เซนติเมตร 3. ผลมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด คือ มีขนาดใหญ่เรียวยาว ยาว 11.7 เซนติเมตร เนื้อหนาเฉลี่ย 1.95 มิลลิเมตร สีแดงเข้มและเผ็ดน้อย โดยมีความเผ็ด 26,800 สโควิลล์ ตรงกับความต้องการของโรงงานผลิตซอสพริก เผ็ดน้อยกว่าพริกแม่ปิง 80




1. ลักษณะช่อดอกเป็นทรงกระบอกสั้น กลีบประดับสีขาวเรียงตัวเป็นระเบียบ อยู่ระดับเดียวกับใบ ส่วนพันธุ์ไทยบิวตี้ กลีบประดับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 2. ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง เหมาะสำหรับผลิตเป็นไม้ดอกกระถางขนาดกลาง 3. ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 56 - 62 วัน แต่พันธุ์ไทยบิวตี้ ใช้เวลา 80 - 83 วัน 4. ผลผลิตช่อดอก 2 - 3 ดอก/กอ และให้ดอกพร้อมกัน 5. อายุการใช้งานในกระถางนาน 4 - 5 สัปดาห์หลังดอกบาน




1. กลีบประดับแยกชั้นอย่างชัดเจน โดยกลีบประดับส่วนบนสีชมพูปลายกลีบแต้มสีเขียวลายเส้น สีแดง กลีบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบประดับส่วนล่างสีเขียว ด้านล่างของกลีบมีวงสีน้ำตาลแดง ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง ส่วนลักษณะช่อดอกของปทุมมาเชียงใหม่ชมพู เป็นทรงดอกบัว 2. ผลผลิตช่อดอก 3 - 7 ดอก/กอ 3. ผลผลิตหัวพันธุ์ 4 - 7 หัว/กอ 4. อายุปักแจกันนาน 14 วัน ซึ่งมากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มีอายุปักแจกัน 9 วัน




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 3,617 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 35 2. ปริมาณแป้งร้อยละ 23.4 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 846 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 36 3. มีปริมาณขนาดหัวที่โรงงานต้องการร้อยละ 86.2 ของน้ำหนักรวม มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 6.20




1. ให้ผลผลิตสูง 4.4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ ร้อยละ 42 และสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 175 หรือ 1.7 เท่า 2. ปริมาณเนื้อสูงร้อยละ 47.9 ซึ่งมากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ มีปริมาณเนื้อร้อยละ 43.2 หรือมากกว่าร้อยละ 10.9 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น มีปริมาณเนื้อร้อยละ 41.8 หรือมากกว่าร้อยละ 14.6 3. ฝักมีขนาดใหญ่ ความยาว 15.78 เซนติเมตร มากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษร้อยละ 3.5 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นร้อยละ 30 ความหนาฝัก 1.99 เซนติเมตร มากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษร้อยละ 15.6 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นร้อยละ 18.4 4. จำนวนฝักต่อกิโลกรัมเท่ากับ 48.5 ฝัก น้อยกว่าพันธุ์ศรีสะเกษที่มีจำนวนฝักเท่ากับ 50 ฝักต่อกิโลกรัม และพันธุ์ท้องถิ่นที่มีจำนวนฝักเท่ากับ 63.5 ฝักต่อกิโลกรัม




1. ผลผลิตสูง ผลผลิตเมล็ดทั้งเปลือกต่อต้นเฉลี่ย 3 ปี (อายุ 5-7 ปี) ค่าเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับ 5.38 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 23.1 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 63 2. น้ำหนักเมล็ดทั้งเปลือกต่อเมล็ดสูง น้ำหนักเมล็ดทั้งเปลือกต่อเมล็ดเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับ 8.5 กรัม ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 13.3 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 15 3. เปอร์เซ็นต์เมล็ดเนื้อในสูง เปอร์เซ็นต์เมล็ดเนื้อในเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับร้อยละ 30.8 สูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 8.1 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 12




1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 19.8 2. เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์การค้า อย่างน้อย 1 เดือน




1. ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 6.62 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด ศก.1 ร้อยละ 23.51 2. มีปริมาณวิตามินซี (Ascorbic acid) สูงถึง 43.3 mg/100g FW ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ศก.1 ร้อยละ 36.59 3. มีปริมาณกรดที่ไทเทรตได้สูงถึงร้อยละ 0.93 ให้รสเปรี้ยวมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ศก.1 ร้อยละ 32.86




1. สารซาโปนินทั้งต้นเฉลี่ย 11.47 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 52 2. ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 210.5 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 31 3. อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน สั้นกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 วัน




1. ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ 291.1 มิลลิกรัม/ตารางเมตร สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 29 2. ผลผลิตน้ำหนักสด 2,635 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 34 น้ำหนักแห้ง 240.3 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 28 3. ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ มากกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีใบย่อย 5 ใบ




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงเข้ม (R53A) กลีบประดับหนาเรียงเป็นระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอก สีแดงอมเขียว (R51A) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 7.58 x 7.73 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 133.29 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 35.4 3. ผลผลิตดอก 386 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 101 4. อายุปักแจกัน 5 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงอมส้ม (R53C) ขอบกลีบประดับสีเขียวอ่อนเด่นสะดุดตาเรียงซ้อนหลายชั้นเรียงเป็น ระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG143B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 7.02 x 7.39 เซนติเมตร เล็กกว่า พันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 98.00 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 52.48 3. ผลผลิตดอก 300 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 56.25 4. อายุปักแจกัน 6 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงสด (R45A) ขอบกลีบประดับสีขาวเรียงเป็นระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอก สีเขียวอมเหลือง (YG152B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 8.29 x 8.66 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 157.86 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 23.45 3. ผลผลิตดอก 227 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 18.23 4. อายุปักแจกัน 5 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีชมพูอมแดง (PR73B) กลีบประดับหนา ขอบกลีบประดับสีขาวเรียงเป็นระเบียบ คล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG152B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 8.07 x 7. 93 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดกที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 135.39 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 34.35 3. ผลผลิตดอก 280 ดอกต่อกอต่อปี มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 45.83 4. อายุปักแจกัน 6 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อ : น้ำหนักผลเฉลี่ย 0.29 สูงกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 26 2. แกนเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางแกน 2.17 – 2.87 ซม. เล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 13.3 – 15.3 3. ผลทรงกระบอก Canning ratio 0.93 – 0.99 เหมาะสำหรับการบรรจุกระป๋อง 4. ความหวานเฉลี่ย 13.9 – 17.9 องศาบริกซ์ หวานกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 14.4 องศาบริกซ์ 5. ตาตื้น ความลึกตาเฉลี่ย 0.73 – 0.81 ซม. 6. ผลผลิตเทียบเท่ากับพันธุ์ปัตตาเวียซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ




1. เครือใหญ่ น้ำหนักเครือเฉลี่ย 5.7 กิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 14.0 2. ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 33.8 กรัม สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 3.0 เนื้อแน่น เหมาะสำหรับการแปรรูปกล้วยอบและกล้วยฉาบ และบริโภคผลสุก 3. การจัดเรียงของผลในหวีเป็นระเบียบเหมาะแก่การบรรจุหีบห่อ




1. ผลผลิตเฉลี่ยสูง ให้ผลผลิต 30.8 กิโลกรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบร้อยละ 12 2. ผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผล 1.8 กิโลกรัม เนื้อหนา 3.34 เซนติเมตร เหมาะสำหรับบริโภคสดและแปรรูป




1. ให้ผลผลิตสูง 1.1 น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (13.7 กิโลกรัม) ร้อยละ 17 1.2 จำนวนหวีเฉลี่ย 9.8 หวีต่อเครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (8.9 หวี) ร้อยละ 10 2. คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม 2.1 วิตามินบี 3 0.006 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (0.003 มิลลิกรัม) ร้อยละ 97 2.2 โพแทสเซียม 309 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (279 มิลลิกรัม) ร้อยละ 11 3. ลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม เนื้อมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสหวานไม่ปนเปรี้ยว