สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




หม่อนไหม มีทั้งสิ้น 19 รายการ


ผลผลิตรังไหมสูงกว่า 20 กิโลกรัมต่อกล่อง รังไหมสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไหมเส้นยืนได้เป็นอย่างดี ดักแด้ไหมที่เหลือสามารถใช้ประโยชน์อื่นได้ เช่นเป็นอาหารสัตว์ส่วนประกอบยาจีนแผนโบราณ ฯลฯ




ผลผลิตใบหม่อนต่อไร่สูงกว่าพันธุ์ม่อนน้อยในทุกฤดูกาลโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,600 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี (สามารถเลี้ยงไหมได้ 8-9 กล่อง ได้ผลผลิตรังไหม 160-180 กิโลกรัม มูลค่า 16,000-18,000 บาท ต่อไร่ต่อปี) มีการแตกกิ่งหลังตัดแต่งดีกว่าหม่อนน้อย ก้านใบมีลักษณะใหญ่ยาวและแข็งทำให้เหมาะกับการเลี้ยงไหมแบบกิ่ง ใบมีลักษณะที่นุ่มหนาปานกลางทำให้เหี่ยวช้าหลังเก็บเกี่ยวสามารถเก็บไว้ได้นาน ใบหม่อนไม่ร่วงง่ายผลผลิตใบจึงสูงขึ้นและเก็บเกี่ยวได้นาน มีคุณค่าทางอาหารสูงใกล้เคียงกับหม่อนน้อย ขยายพันธุ์ได้ง่าย ต้านทานต่อโรคราแป้งได้ดี




ผลผลิต 742 รังต่อกิโลกรัม ไหมนครราชสีมาลูกผสม 60 ได้เปรียบไหมพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1 ในด้านการตลาดเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรังไหมสีเหลือง เกษตรกรสามารถเลือกจำหน่ายให้โรงงานสาวไหมเส้นยืนหรือทำการสาวรังไหมด้วยตนเอง และจำหน่ายเส้นไหมพุ่งได้เพราะมีสีเหลืองเหมือนพันธุ์พื้นเมือง เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของพันธุ์ที่ได้เปรียบในเชิงการค้า เพราะผลผลิตแปรรูปเป็นได้ทั้งไหมเส้นยืนและเส้นพุ่ง




ผลิตเป็นไหมเส้นยืนได้ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า มีเส้นใยยาวกว่า 1,000 เมตร ในขณะที่ไหมพื้นเมืองมีความยาวไม่เกิน 350 เมตร และเมื่อเปรียบเทียบผลผลิตรังสดกับพันธุ์ นครราชสีมา 1พันธุ์นครราชสีมา 60-1 ให้ผลผลิตรังสด 505 กรัมต่อแม่ ในขณะที่พันธุ์ นครราชสีมา 1 ให้ผลผลิตรังสด 492กรัมต่อแม่ มีความเหมาะสมในการใช้เป็นแม่และหรือพ่อพันธุ์มีความแข็งแรงสูงกว่า เปอร์เซ็นต์เปลือกรังดีกว่าและน้ำหนักรังสดในการเลี้ยงไหม 1 แม่ ค่อนข้างสูงกว่า พันธุ์ นครราชสีมาลูกผสม 1




ผลิตเป็นเส้นยืนได้ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเกือบ 2 เท่า มีเส้นใยยาวกว่า 1,000 เมตร ในขณะที่ไหมพื้นเมืองมีความยาวไม่เกิน 350 เมตร และเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ นครราชสีมา 2 พันธุ์ นครราชสีมา 60-2 เวลาในการเลี้ยงสั้นกว่าซึ่งจะทำให้ประหยัดแรงงานและใบหม่อนและเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจากทุกแหล่งจะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์เปลือกรังของนครราชสีมา 60-1 ค่อนข้างสูงกว่าของพันธุ์นครราชสีมา 2 ผลผลิตรังสด 475 กรัม ต่อแม่




ผลผลิต 4,328 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการออกรากมาก การเจริญเติบโตดี ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง ลักษณะขอบใบไม่มีแฉก ขนาดใบใหญ่ หนา อ่อนนุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย พื้นที่ใบมีมาก เป็นหมอนเพศเมีย ที่มีอัตราการแตกรากดี จึงใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ 6-10 เดือน ปักชำ หรือปลูกในแปลงได้โดยตรง ต้นเป็นทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งมีทรงพุ่มดี มีลักษณะตั้งตรงหลังเก็บเกี่ยว หรือตัดแต่งกิ่งมีการแตกกิ่งเร็วไม่พักตัวในทุกฤดูกาลจึงทำให้มีใบเลี้ยงไหมได้ตลอดปี




ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 30 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเส้นใย 650 เมตร ในขณะที่พันธุ์พื้นเมืองมีความยาวเส้นใยเพียง 350-400 เมตร




ตัวไหมแข็งแรง เลี้ยงง่าย เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย จำนวนไข่ไหมต่อแม่สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรเลี้ยงอยู่เดิมคือประมาณ 378 ฟอง สามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง 33-35 องศาเซลเซียส




เลี้ยงง่าย มีความแข็งแรงสูง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย อายุหนอนไหมสั้นใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์




ต้านทานต่อโรคใบด่างดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ผลผลิตใบหม่อนไม่แตกต่างจากพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 คือให้ผลผลิตประมาณ 2,694 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีปริมาณโปรตีนในใบสูงกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ใบหม่อนมีการร่วงช้ากว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ทำให้มีอายุการเก็บเกี่ยว ได้นาน




ทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ออกรากดีและสามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรงหรือปักชำก่อนปลูก จึงขยายพันธุ์ได้ง่าย ข้อถี่ ก้านใบสั้น ให้ผลผลิตใบ 1,966.95 กิโลกรัมต่อไร่ ใบมีลักษณะอ่อนนุ่ม คุณภาพดีเหมาะสำหรับเลี้ยงไหม เป็นพันธุ์ที่ต้านทานปานกลางต่อโรคใบด่าง ลำต้นตั้งตรงสะดวกต่อการเขตกรรม และดูแลรักษา




แม่พันธุ์และพ่อพันธุ์สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้กระบวนการผลิตไข่ไหมสะดวกมากขึ้น มีความแข็งแรง เลี้ยงได้ตลอดปี ให้ผลผลิตรังสด 21.40 กิโลกรัมต่อแผ่นไข่ไหม สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 60-35 จำนวนไข่ไหมต่อแม่ และน้ำหนักรังสดสูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 60-35 เส้นใยยาว และสาวง่าย




เลี้ยงได้ง่ายปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี อายุในระยะหนอนไหมของพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่เท่ากัน ทำให้สะดวกในการผสมพันธุ์และมีประโยชน์ต่อการผลิตไข่ไหม จำนวนไข่ไหม 495 ฟองต่อแม่ น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่ สูงกว่าพันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 มีความต้านทานต่อโรค Nuclear Polyhedrosis Virus(NPV) และมีอัตราการเลี้ยงรอดของระยะหนอนไหมวัยอ่อนสูง




ผลผลิตน้ำหนักรังไหมสด เฉลี่ย 1.75 กรัมต่อรัง จำนวนรังไหม และจำนวนไข่ไหมต่อแม่ สูงกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม ให้คุณภาพรังไหมที่ดีโดยเส้นไหมยาวกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 116.3 เปอร์เซ็นต์ มีความทนทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) ดีกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1




แข็งแรงเลี้ยงง่ายสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีแม้ในช่วงฤดูฝนทีมีอุณหภูมิและความชื้นสูง ให้ผลผลิตรังไหมสดน้ำหนักเฉลี่ย 1.70 กรัมต่อรัง และมีคุณภาพเส้นไหมเป็นที่ยอมรับของตลาด มีความทนทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV)




ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหมสูง 15-20 กิโลกรัม จำนวนไข่ไหมต่อแม่สูง 518 ฟอง น้ำหนักรังสดเฉลี่ย 1 รัง 1.42 กรัม เส้นใยยาว 513 เมตร เป็นพื้นที่ที่สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหมจำนวนมาก ๆ




ต้านทานเชื้อ NPV สามารถแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกต่อการผลิตไข่ไหม จำนวนไข่ไหม 530 ฟองต่อแม่ น้ำหนักรังสด 2.05 กรัม เส้นไหมยาว 1,046 เมตรต่อรัง เปอร์เซ็นต์การสาวไหมง่าย 77.00 เปอร์เซ็นต์




ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีผลขนาดใหญ่และปริมาณกรดสูง เหมาะสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป สามารถกำหนดเวลาให้ผลผลิตได้ด้วยวิธีการบังคับให้ออกดอก ติดผลนอกฤดูกาลขยายพันธุ์ได้ง่าย




ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 60 30 เปอร์เซ็นต์ มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ออกรากดีเมื่อตัดกิ่งปักชำ ขยายพันธุ์ง่าย สามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรง หรือปักชำก่อนปลูก มีความทนทานโรครากเน่าดีกว่าหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60