สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชไร่ มีทั้งสิ้น 153 รายการ


เมล็ดโตกว่าและต้านทานต่อโรคราสนิมและโรคแอนแทรคโนสได้ดีกว่าพันธุ์ สจ.1 และ สจ.2 และมีความต้านทานต่อโรคเมล็ดสีม่วง ผลผลิต 300 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง




ผลผลิตสูง เมล็ดมีคุณภาพดี เปลือกฝักค่อนข้างบาง เปอร์เซ็นต์การกระเทาะสูง 32-77 เปอร์เซ็นต์ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีผลผลิตทั้งฝักแห้งเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูแล้งได้ผลผลิต 293 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูฝนได้ผลผลิต 236 กิโลกรัมต่อไร่




เมล็ดขนาดใหญ่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ผิวมัน เป็นที่ต้องการของตลาด ออกดอกจำนวนมาก ประมาณ 80-85เปอร์เซ็นต์ ของทั้งต้นและติดฝักชุดแรกภายในเวลาเกือบพร้อมกันจึงทำให้ฝักแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ในเวลาเดียวกันอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65-70 วัน ฝักแก่เหนียวไม่แตกง่าย เก็บเกี่ยวฝักทั้งหมดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (พันธุ์พื้นเมืองต้องเก็บเกี่ยว 6-7ครั้ง)ให้ผลผลิต 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเล็กน้อยมีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชเช่นเดียวกับถั่วเขียวพันธุ์พื้นเมืองและทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี




สมอฝ้ายมีขนาดใหญ่ให้ผลผลิตปุยทั้งเมล็ด 300-340 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าฝ้ายพันธุ์ รีบา บีทีเค 12ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักต่อหนึ่งสมอประมาณ 5.7 กรัม (ฝ้ายปุยทั้งเมล็ด) เมล็ดมีขนาดปานกลาง 100 เมล็ด หนักประมาณ 9.4 กรัม น้ำมันในเมล็ดประมาณ 18.5 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 19.0 เปอร์เซ็นต์ ใยยาวปานกลางมีค่าความละเอียดอ่อนของเส้นใย 4.5 ค่าความเหนียวของเส้นใย 21 กรัมต่อเท็กซ์ และให้ค่าความเหนียวของเส้นด้าย 1900 เมื่อปั่นเป็นด้ายเบอร์ 40




ผลผลิตประมาณ 180 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดโตมีขนาดสม่ำเสมอ จำนวนเมล็ดสีน้ำตาลหรือสีแดง (ตลาดไม่ต้องการ) มีน้อยกว่าพันธุ์พื้นเมือง




ผลผลิต 320 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคใบด่าง ดีกว่าพันธ์ สจ.4 และต้านทานโรคราสนิมโรคแอนแทรคโนสในระดับเดียวกับ สจ.4 ทนต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 เมล็ดมีความงอกดี ลำต้นแข็งแรงให้น้ำมัน 18.7 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 41.8 เปอร์เซ็นต์




อายุสั้น ผลผลิตสูง 352 กิโลกรัมต่อไร่ เส้นใยสีขาวและเหนียวนุ่ม ละเอียดมีเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงไม่แตกกิ่ง และสามารถปลูกในสภาพดินเลวได้ ทนทานต่อการหักล้มได้ดี ต้านทานไรขาว และต้านทานโรคเน่าปานกลาง




ต้านทานต่อโรคใบหงิก คุณภาพเส้นใยดีมาก ผลผลิตปุย 280-330 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์เส้นใยหรือปุย 38 เปอร์เซ็นต์ เส้นใยยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร (1.19 นิ้ว) และมีความสม่ำเสมอของเส้นใย 0.9 เปอร์เซ็นต์ ค่าความละเอียดของเส้นใย 3.9 ไมโครแนร์ ค่าความเหนียวของเส้นใย 20.4 กรัมต่อเท็กซ์




ลำต้นแข็งแรงเจริญเติบโตเร็วให้น้ำหนักฝักสดก่อนปอกเปลือกและน้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือกแล้วสูงคือน้ำหนักฝักสดก่อนปอกเปลือก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือกแล้ว 100-175 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง




ผลผลิตค่อนข้างสูง ประมาณ 550 กิโลกรัมต่อไร่ รวงค่อนข้างโปร่ง ทนแล้งดี ต้านทานต่อโรคราสนิม ทนทานต่อการหักล้มคุณค่าทางอาหารในการเลี้ยงสัตว์ดี มีแทนนินต่ำ 0.10 เปอร์เซ็นต์ และโปรตีน 9.7 เปอร์เซ็นต์




สมอดก ผลผลิตปุย 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว 105-120 วัน สมอแตกเกือบพร้อมกันทั้งต้น ทำให้เก็บเกี่ยวได้หมดในระยะเวลาอันสั้น ให้น้ำหนักเส้นใยสูง ประมาณ 39.3 เปอร์เซ็นต์ต่อสมอ ความยาวเส้นใยประมาณ 1.14 นิ้ว




ผลผลิตหัวสด 3,899 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตแป้งสูงถึง 914 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 19.8 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมทำแป้งและอาหารสัตว์ หัวสดมีแป้งสูง 23.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ ระยอง 1 ซึ่งมีแป้งเพียง 18.3 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตมันเส้นหรือมันแห้ง สูงถึง 1,489 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ถึง 11.5 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลาง




เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำตาลต่อไร่สูงผลผลิตสูงประมาเณ 15-18 ตันต่อไร่ ในไร่เกษตรกรที่มีน้ำชลประทานให้ผลผลิต 11 -15 ตันต่อไร่ ในสภาพน้ำฝนให้ค่าความหวาน 12-13 บริกซ์




ผลผลิตหัวสดสูงเฉลี่ย 4,161 กิโลกรัมต่อไร่ เนื้อมันสด มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 เนื้อหัวสีเหลือง เนื้อเหนียว เหมาะสำหรับบริโภคและเป็นอาหารสัตว์ ต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลาง




อายุสั้นประมาณ 70-75 วัน สั้นกว่าพันธุ์พื้นเมือง 12 วัน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 115 กิโลกรัมต่อไร่ ดีกว่าพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์พื้นเมืองเปอร์เซ็นต์คือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าปลูกในสภาพการเพาะปลูกที่เหมาะสมจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นต้านทานต่อไรขาว




ผลผลิตเส้นใยเฉลี่ย 458 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานต้นเขียว เส้นใยสีขาว และเหนียว 26.2 กรัมต่อเท็กซ์ ให้เปอร์เซ็นต์เส้นใย 6.46 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 5.6-7.6 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคโคนเน่าน้อยกว่าพันธุ์มาตรฐานทั้งในสภาพไร่และสภาพทดลองในเรือนปลูก




ผลผลิตโดยเฉลี่ย 201.6 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 37 น้ำหนักเมล็ดและองค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดมีค่าใกล้เคียงกับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 ให้น้ำหนักถั่วงอกมากกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 สามารถต้านทานโรคราแป้ง และใบจุดได้ดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 1




ผลผลิตเฉลี่ย 193.9 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยวสั้นน้ำหนักเมล็ดและองค์ประกอบทางเคมีในเมล็ดมีค่าใกล้เคียงกับถั่วเขียวพันธุ์อู่ทอง 1 ให้น้ำหนักถั่วงอกมากกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 สามารถต้านทานโรคราแป้ง และใบจุดได้ดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 1




ขนาดฝักใหญ่ คุณภาพเมล็ดดี เมล็ดโต มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันในเมล็ดสูงประมาณ 21.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นที่ต้องการของตลาด ผลผลิตโดยเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สจ.5 11 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งผลผลิตต่อวันต่อไร่สูงมากกว่าพันธุ์สจ.5 37 เปอร์เซ็นต์ สามารถปลูกในระบบปลูกพืชได้ดีโดยเฉพาะในเขตเกษตรน้ำฝน (ระยะปลูกที่แนะนำ 50x20 เซนติเมตร)




ต้นตั้งตรง ไม่ล้ม ผลผลิตเฉลี่ยในฤดูฝนภาคกลางตอนบน 343 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ สจ.4 และ สจ.5 ร้อยละ 14.7 และ 18.3 ตามลำดับ เฉลี่ยทั่วประเทศในฤดูฝนผลผลิต 293 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดกลมและขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ สจ.4 และ สจ.5 ต้านทานโรคใบจุดนูนและโรคใบด่างได้ดีกว่าพันธุ์ สจ.4 และสจ.5




อายุเก็บเกี่ยวครั้งแรกสั้นกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 ประมาณ 7 วัน การติดสมอดีมาก ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ยจากทุกภาคในประเทศไทย 297 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในเขตภาคกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 317 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมากกว่าพันธุ์ ศรีสำโรง 2 ถึง 26 เปอร์เซ็นต์เปอร์เซ็นต์การเป็นโรคใบหงิกน้อยกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 คุณภาพเส้นใยและเปอร์เซ็นต์การหีบดี เป็นฝ้ายที่มีความยาวปานกลาง ความเหนียวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยและสามารถนำไปปั่นด้ายเบอร์ 30-40 ได้ดี ตรงตามความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมสิ่งทอ




ปริมาณน้ำตาล 13.50 เปอร์เซ็นต์ ให้ค่าความหวาน 11-12 บริกซ์ ผลผลิตน้ำตาลต่อไร่สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานทนต่อการหักล้มมีการแตกกอดีสม่ำเสมอ การไว้ตอดี ผลผลิต 25.20 ตันต่อไร่ ทนทานต่อโรคแส้ดำเท่าเทียมกับพันธุ์มาตรฐานและหนอนกอเข้าทำลายได้เพียง 4.50 เปอร์เซ็นต์




1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 955 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 2301 และพันธุ์สุวรรณ 1 รอบคัดเลือกที่ 8 11 เปอร์เซ็นต์ และ 23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 2. มีลักษณะทางการเกษตรอื่นๆ ที่ดี เช่น ต้านทานโรคราน้ำค้าง ต้านทานการหักล้ม เปอร์เซ็นต์ฝักเน่าต่ำ 3. ใบตั้งมีสีเขียวเข้ม ลำต้นและช่อดอกมีสีม่วง เมล็ดสีส้มเหลืองหัวแข็ง




อายุสั้น ผลผลิตสูง 310 กิโลกรัมต่อไร่ เส้นใยสีขาวและเหนียว ลำต้นไม่มีหนาม ทำให้การดูแลรักษาและเก็บเกี่ยวง่ายตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดีเหมาะสำหรับปลูกในนาก่อนข้าวทนทานต่อโรคโคนเน่า




เป็นพันธุ์ผสมเปิด เมล็ดสีแดง ตรงตามความต้องการของตลาด ผลผลิตเฉลี่ย 647 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์มาตรูฐานคือพันธุ์ เฮกการีหนัก อายุสั้นต้นเตี้ย หักล้มน้อย เก็บเกี่ยวง่ายกว่าพันธุ์ เฮกการีหนัก มีแทนนินต่ำ 0.164 เปอร์เซ็นต์ มีความต้านทานต่อโรคราของเมล็ดปานกลาง




ผลผลิต 107.47 กิโลกรัมต่อไร่ สีและขนาดเมล็ดตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทรงต้นโปร่ง แตกกิ่งน้อย ผลผลิตใกล้เคียงกับงาขาวพันธุ์พื้นเมืองชัยบาดาลและสูงกว่างาขาวพันธุ์ร้อยเอ็ด 1 ประมาณ 16 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคเน่าดำ




ต้นเตี้ยและทรงพุ่มแคบเหมาะสำหรับใช้ในระบบปลูกพืช อายุสั้นกว่าพันธุ์ อู่ทอง 1 ประมาณ 7 วัน ช่อฝักอยู่เหนือทรงพุ่มเด่นชัดดูแลและเก็บเกี่ยวสะดวกให้ผลผลิตสูงกว่าถั่วเขียวพันธุ์ อู่ทอง 1 ในปลายฤดูฝนผลผลิตในสถานี 219 กิโลกรัมต่อไร่ และในไร่เกษตรกร 175 กิโลกรัมต่อไร่




ขนาดฝักและเมล็ดโต สวยสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงในสถานีเฉลี่ย 335 กิโลกรัมต่อไร่ ในแปลงเกษตรกรเฉลี่ย 274 กิโลกรัมต่อไร่




ผลผลิตฝักสด 572 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักแห้ง 254 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดฝักและเมล็ดโต จำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อฝัก 3 เมล็ด ลายบนเปลือกฝักสวย ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าถั่วลิสงพันธุ์ สข.38 ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตฝักแห้งสูงกว่าพันธุ์ สข.38 ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคโคนเน่าดีกว่าพันธุ์ สข.38




ต้านทานต่อโรคราสนิมและทนทานต่อโรคราน้ำค้างและโรคแอนแทรคโนสดีกว่าพันธุ์ สจ.4 และ สจ.5 ผลผลิตสูง 320 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำมัน 20.2 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 43.8 เปอร์เซ็นต์ ตอบสนองต่อปุ๋ยอัตราต่ำดีกว่าพันธุ์ สจ.5




เก็บเกี่ยวอายุ 8 เดือน ผลผลิตหัวสด ผลผลิตแป้ง ผลผลิตมันเส้น ผลผลิตต่อวันและค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงกว่าพันธุ์ ระยอง 1 24.5, 31.3, 41.9, 24.8 และ 21.8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยมีปริมาณกรดไซยานิค 3 ส่วนในล้าน (ppm) มีความต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลางผลผลิตหัวสดเมื่ออายุ 8 เดือน 3,148 กิโลกรัมต่อไร่ (มันแห้ง 1,217 กิโลกรัมต่อไร่) และผลผลิตหัวสด เมื่ออายุ 12 เดือน 4,224 กิโลกรัมต่อไร่(มันแห้ง 1,404 กิโลกรัมต่อไร่)




ผลผลิต 1,017 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ สุวรรณ 1 ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคราน้ำค้างมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้สูงและไม่มีข้อจำกัดในแหล่งปลูกข้าวโพดที่ผ่านการทดสอบ




สมอโต เก็บเกี่ยวง่าย ผลผลิตสูงให้ฝ้ายปุยทั้งเมล็ดเฉลี่ย 329-360 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยวสั้นปรับตัวให้เข้ากับหลายสภาพแวดล้อมได้กว้างขวาง ความยาวเส้นใยประมาณ 28 มิลลิเมตร (1.14 นิ้ว) เป็นฝ้ายที่มีเส้นใยยาวปานกลาง




ขนาดฝัก และเมล็ดใหญ่สวยกว่าพันธุ์ไทนาน 9 ที่แนะนำอยู่เดิม ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ไทนาน 9 ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ คือ ให้ผลผลิตฝักแห้งโดยเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ดขนาดโตสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อการทำลายของแมลงศัตรูและโรคทางใบได้ดี อายุไม่ยาวเกินไป คุณภาพการรับประทานดีตลาดมีความต้องการสูงทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี




ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 254 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ อู่ทอง 1 ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 1 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเมล็ดเท่ากับพันธุ์อู่ทอง 1 ต้านทานต่อการหักล้ม และต้านทานต่อโรคใบจุดสูงกว่าทุกพันธุ์




ผลผลิตต้นฤดูฝน 789 กิโลกรัมต่อไร่ ปลายฤดูฝน 656 กิโลกรัมต่อไร่ คือผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ SW 1 (MMS) C2F2 ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อปลูกในปลายฤดูฝนให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 21 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน




ขนาดเมล็ดใหญู่กว่าพันธุ์อู่ทอง 2 เฉลี่ย 5 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด ทรงต้นโปร่ง ตั้งตรง อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์อู่ทอง 2 ประมาณ 9 วัน ให้ผลผลิตระดับเดียวกับพันธุ์อู่ทอง 2 คือ 190 กิโลกรัมต่อไร่




ต้นเตี้ยหักล้มยากเก็บเกี่ยวง่ายอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ H22 ประมาณ 10 วัน ผลผลิตจากแปลงทดลองเฉลี่ย 199 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ H22 10 เปอร์เซ็นต์ ให้น้ำมันสูงกว่าพันธุ์ H22 ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์




ผลผลิตสูงให้ 2-3 ฝักต่อต้น ผลผลิตฝักอ่อนทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,238 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์มาตราฐาน รังสิต 1 และ สุวรรณ 2 ถึง 30 และ 16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้ผลผลิตฝักอ่อนปอกเปลือกที่ได้มาตรฐานเฉลี่ย 190 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานทั้งสองถึง 50 และ 18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อายุเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเริ่มเก็บฝักอ่อนได้ภายใน 43 วัน เร็วกว่าพันธุ์ รังสิต 1 และ สุวรรณ 2 โดยเฉลี่ยเท่ากับ 5 และ 1 วัน มีช่วงเก็บเกี่ยว 10 วัน รวมอายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จไม่เกิน 60 วัน มีความต้านทานโรคราน้ำค้างดีกว่าข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์ รังสิต 1




ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,049 กิโลกรัมต่อไร่ มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตและปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มีลักษณะทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ ความสูงของต้น จำนวนต้นหักล้ม และเปอร์เซ็นต์ กระเทาะดีกว่าพันธุ์สุวรรณ 2602, สุวรรณ 1, และสุวรรณ 3 มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง




ผลผลิตหัวสดสูง เก็บเกี่ยวอายุ 12 เดือน ให้ผลผลิต 3.81 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ร้อยละ 5 มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บเกี่ยวในฤดูฝนผลผลิตมันแห้งสูง 1,400 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตแป้งสูง 966 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้




ผลผลิต 216 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 1 ร้อยละ 4 พันธุ์กำแพงแสน 2 ร้อยละ 12 และพันธุ์ชัยนาท 60 ร้อยละ 6 ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล




เมล็ดโต สีแดงสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงเฉลี่ย 139 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่างาแดงพันธุ์พื้นเมือง 22 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่างาขาว พันธุ์มหาสารคาม 60 25 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคเหี่ยวจากเชื้อแบคทีเรีย ต้านทานต่อหนอนห่อใบงา ไรขาว และมวนฝิ่น




ผลผลิตรวมของต้นและผักสด 1,653 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักใหญ่ เมล็ดโต มีเนื้อมาก และผลผลิตฝักสดมากกว่า พันธุ์นครสวรรค์ 1 รสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตันต่อไร่ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและขนาดเมล็ดจะโตขึ้นด้วย




ข้าวฟ่างสายพันธุ์แท้เมล็ดสีแดงให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 60 ประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ ลำต้นและใบใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดีเพราะมีกรดไฮโดรไซยาริคต่ำประมาณ 7.28 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด(ปริมาณที่เป็นพิษต่อสัตว์เท่ากับ 25 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด)ปริมาณโปรตีนเฉลี่ยเท่ากับ 5.8 เปอร์เซ็นต์ผลผลิตเมล็ดในสถานีทดลองและในไร่เกษตรกรเท่ากับ 551 และ 412 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ




สะสมน้ำตาลเร็วเมื่ออายุ 9 เดือน ในเดือนธันวาคม มีค่าซีซีเอส มากกว่า 10 รักษาระดับน้ำตาลในลำต้นได้สูง และอยู่ได้นาน ผลผลิตอ้อยอายุ 9 เดือน 10.2 ตันต่อไร่ อายุ 12 เดือน 14.0 ตันต่อไร่ เมื่อปลูกในดินร่วนมีความต้านทานโรคแส้ดำ ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง




ผลผลิตเมล็ดสูง 907-945 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์สุวรรณ 1, สุวรรณ 3 และพันธุ์นครสวรรค์ 1 4,7 และ 16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้ผลผลิตน้ำหนักต้นสดและน้ำหนักแห้งสูง เหมาะในการทำเป็นพืชอาหารสัตว์สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมทั่วไป มีระบบรากและลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้านทานโรคราน้ำค้างและโรคทางใบอื่น ๆ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ใช้ทำพันธุ์ได้นาน 1-3 รุ่น




ผลผลิตเฉลี่ยทั้งปี 306 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคแบคทีเรียลพัสดูล ลำต้นสูง แข็งแรง ต้านทานการหักล้ม สามารถตรึงไนโตรเจนได้ดีกว่าพันธุ์ สจ.4




ผลผลิตหัวสดสูง 4,420 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ ระยอง 1 23 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตแป้งสูง 1,027 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 เท่ากับ 44 และ 35 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้ผลผลิตมันแห้งสูง 1,554 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 เท่ากับ 23 และ 37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมีความงอกดีและอยู่รอดถึงการเก็บเกี่ยวมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานโรคใบไหม้ปานกลาง




ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 586 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 270 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 171 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 47 กรัม มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีทนทานต่อโรคโคนเน่าปานกลาง




ผลผลิตสูงประมาณ 290-310 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าสุโขทัย 1 และเชียงใหม่ 60 ในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางประมาณ 9 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ต้านทานโรคที่สำคัญคือ โรคราน้ำค้างในแหล่งปลูกถั่วเหลืองในเขตภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางของประเทศ ต้านทานโรคใบจุดนูนปานกลาง และต้านทานโรคไวรัสใบด่าง เป็นถั่วเหลืองพันธุ์รับรองพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่มีความต้านทานโรคสำคัญได้ทั้ง 3 ชนิด




ผลผลิตเส้นใยแห้ง 375 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์โนนสูง ประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ มีเส้นใยเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์โนนสูง 1 ที่มีเส้นใยเพียง 6.7 เปอร์เซ็นต์ ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีสูงกว่าพันธุ์โนนสูง 1 ลอกง่ายและไม่เจ็บมือเนื่องจากมีปุ่มบนแก่นปอน้อยกว่าพันธุ์โนนสูง 1




ผลผลิตเส้นใยแห้ง 403 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์โนนสูง 2 ร้อยละ 17 ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่นได้ดีมีอายุการออกดอกเร็วกว่าพันธุ์รับรองโนนสูง 2 ประมาณ 10 วัน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี




ผลผลิตน้ำอ้อยสูง 4,913 ลิตรต่อไร่ น้ำอ้อยสดมีความหวาน 16.1 บริกซ์ แตกกอดี จำนวนลำต่อไร่สูง 12,198 ลำ สูงกว่าพันธุ์สิงคโปร์ 91 เปอร์เซ็นต์ สามารถไว้ตอได้ดีไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี




ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,066 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 29 เปอร์เซ็นต์ อายุ 6 ปี มีจำนวนทะลายเฉลี่ย 13 ทะลายต่อต้น มากกว่าพันธุ์มาตรฐานซึ่งมี 8 ทะลายต่อต้น




มีระดับการเป็นโรคไวรัสยอดไหม้ร้อยละ 12.8 และให้ผลผลิตฝักแห้ง 304 กิโลกรัมต่อไร่




อายุเก็บเกี่ยวสั้นใกล้เคียงกับพันธุ์มาตรฐาน นครสวรรค์ 1 ให้ผลผลิต 230-290 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1 ประมาณร้อยละ 7 แต่ถ้าปลูกในฤดูแล้ง จะให้ผลผลิตสูงกว่าประมาณร้อยละ 18 มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างในระดับต้านทานถึงต้านทานปานกลาง ปรับตัวตอบสนองกับสภาพแวดล้อมได้กว้างสามารถใช้เป็นพันธุ์ปลูกได้ทุกสภาพแวดล้อม




ผลผลิตน้ำหนักสูง 15.90 ตันต่อไร่ ผลผลิตน้ำตาลสูง 2.20 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในสภาพดินร่วนปนทรายและให้ผลผลิตน้ำหนัก ในอ้อยตอ 2 14.13 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานอู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 29 และ 32 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้ผลผลิตน้ำตาลในอ้อยตอ 2 1.96 ตันซีซีเอสต่อไร่ ไม่พบโรคกอตะไคร้ในสภาพธรรมชาติ ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอ




อายุเก็บเกี่ยวสั้น 110-120 วัน ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 462 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 161 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 15.5 และ 32.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมล็ดโต มีน้ำหนัก 100 เมล็ด สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 30.9 เปอร์เซ็นต์ เปลือกฝักบาง เมล็ดสีแดง




ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างในระดับสูง ทั้งในสภาพการปลูกเชื้อและสภาพเกิดโรคตามธรรมชาติในไร่ โดยเฉพาะการปลูกในต้นฤดูฝนและฤดูแล้ง นอกจากนี้มีความต้านทานโรคแอนแทรคโนสด้วย




ผลผลิต 22,128 ฝักต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองเหลืองอุทัยธานี และขาวเชียงใหม่ 30 และ 17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จำนวนฝักที่ได้มาตรฐาน 16,316 ฝักต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เหลืองอุทัยธานี 43 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักฝักทั้งเปลือก 1,435 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 34 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพในการบริโภคดีกว่าพันธุ์พื้นเมือง คือรสชาติหวานเล็กน้อย ความนุ่มเหนียวดี ไม่ติดฟันและกลิ่นหอมชวนรับประทาน




ผลผลิต 223 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์กำแพงแสน 1 และพันธุ์กำแพงแสน 2 ต้านทานต่อโรคใบจุดและโรคราแป้งดีกว่าพันธุ์ส่งเสริมอื่น ๆ




ผลผลิตเมื่ออายุ 6 และ 12 เดือน มีน้ำหนักเปลือกในแห้ง 65 และ 130 กิโลกรัมต่อไร่ เปลือกนอก 67 และ 92 กิโลกรัมต่อไร่ และแก่น 357 และ 1,174 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ลอกเปลือกออกได้ง่าย แม้ในสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เปลือกและเยื่อมีคุณภาพดีร้อยละ 38 ซึ่งสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่ให้เยื่อคุณภาพดีเพียงร้อยละ 30 ต้านทานโรคใบใหม้ซึ่งเป็นโรคระบาดในระยะต้นกล้าในสภาพธรรมชาติเมื่อฝนตกชุก




ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 9 เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและเก็บรักษาได้นาน ต้านทานปานกลางต่อไส้เดือนฝอยรากปมในแหล่งปลูกถั่วเหลืองสภาพไร่ ในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปลูกในสภาพใช้ปัจจัยการผลิตต่ำในฤดูแล้ง ได้แก่ ไม่เตรียมดิน ไม่พ่นสารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่ใช้ฟางข้าวคลุมดิน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 236 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 22




ผลผลิต 913 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 1 23 เปอร์เซ็นต์ มีความต้านทานโรคราน้ำค้างเช่นเดียวกับข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 1




ผลผลิตหัวสดสูง 5.09 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน คือพันธุ์ระยอง 1 ร้อยละ 27 ผลผลิตแป้งสูง 1.07 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ร้อยละ 36 ผลผลิตมันแห้งสูงถึง 1.71 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ร้อยละ31 ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 5.55 ตันต่อไร่ ผลผลิตแป้ง 1.23 ตันต่อไร่ และผลผลิตมันแห้ง 1.91 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าการปลูกในท้องที่อื่น ท่อนพันธุ์มีความอยู่รอดถึงเก็บเกี่ยวสูง 92 เปอร์เซ็นต์ ทรงต้นดี แตกกิ่งบ้างเล็กน้อยในระดับที่สูงจากโคนต้น ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ต้านทานโรคใบจุดและโรคใบไหม้ปานกลาง




ผลผลตเฉลี่ย 212 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝนให้ผลผลิต 222, 240 และ 187 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ มีความต้านทานปานกลางต่อหนอนแมลงวันเจาะลำต้นในสภาพธรรมชาติ โดยให้ผลผลิต 135 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 ร้อยละ 26.2




ผลผลิตเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 7 และ สจ.5 ร้อยละ 9 ต้านทานต่อโรคใบจุดทั้งในสภาพธรรมชาติ และต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง โรคใบด่างในสภาพการปลูกเชื้อ มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงกว่าพันธุ์ สจ.5 และเชียงใหม่ 60 ร้อยละ 18 และ 4 ตามลำดับ ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้กว้าง




ผลผลิตเฉลี่ย 15.69 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 13 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 15 ต้านทานต่อโรคแส้ดำและโรคเหี่ยวเน่าแดง มีความทนทานต่อการเข้าทำลายของหนอนกอในสภาพธรรมชาติ ดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 1




ผลผลิตเฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 6 และ สจ.5 ร้อยละ 8 ต้านทานโรคราน้ำค้าง และต้านทานปานกลางต่อโรคใบด่างใสภาพปลูกเชื้อ




ผลผลิตทะลายสด 3,254 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ให้ผลผลิตในแต่ละปีสม่ำเสมอแม้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ต้นเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 และพันธุ์ปาล์มลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ประมาณ 30 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้จำนวนทะลายสูง มีก้านทะลายยาว ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ขนาดเนื้อในต่อผล 9.9 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับใช้ทำเครื่องสำอางในอนาคต




ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ให้น้ำมันดิบต่อทะลายเฉลี่ย 27 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานซึ่งให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันดิบต่อทะลาย 26 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 4 ปี 760 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรูฐาน 11.7 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4 ปี 2,813 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,625 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,357 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี




เปลือกฝักค่อนข้างเรียบ ทำให้ล้างฝักสดให้สะอาดได้ง่าย อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ สข.38 และขอนแก่น 60-2 ประมาณ 5-10 วัน มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดถั่วลิสงฝักต้มในประเทศไทย มีรสชาติดีฝักตรง มีจำนวนเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก




ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 579 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 60-2 และ สข.38 ร้อยละ 10 และ 18 ตามลำดับ ให้ผลผลิตฝักแห้ง 204 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิมและโรคใบจุดสีน้ำตาล มีฝักยาวสวย มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก รสชาติค่อนข้างหวาน




ผลผลิตปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 309 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 ร้อยละ 7 มีความยาวเส้นใยดีกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 และ ศรีสำโรง 60 มีความเหนียวรั้งความสม่ำเสมอ ตลอดจนความละเอียดอ่อนของเส้นใยอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60 มีความต้านทานโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดีในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60




ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ ในอ้อยปลูกและอ้อยตอปีที่ 1 คือ 2.03 และ 1.54 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 9 และ 11 ตามลำดับ มีค่าซีซีเอสในอ้อยปลูก และในอ้อยตอปีที่ 115.99 และ 15.22 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 16 และ 12 ตามลำดับ ทรงกอตั้งตรงไม่ล้ม ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงในระดับปานกลางในสภาพการปลูกเชื้อ




ผลผลิตน้ำตาลสูง ในเขตใช้น้ำฝนดินร่วนปนทรายให้ผลผลิตน้ำตาล 1.48 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 ร้อยละ 11 และ 44 ตามลำดับ มีการไว้ตอดี ในเขตใช้น้ำฝนให้ผลผลิตน้ำหนักในอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 10.95 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิตน้ำหนักในอ้อยตอ 2 เฉลี่ย 8.87 ตันต่อไร่ อ้อยตอ 1 ให้ผลผลิตน้ำหนักสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 2 ร้อยละ 33 สำหรับอ้อยตอ 2 ให้ผลผลิตน้ำหนักสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 2 ร้อยละ 14 ให้ผลผลิตน้ำตาลในอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 1.71 ตันซีซีเอสต่อไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลในอ้อยตอ 2 เฉลี่ย 1.40 ตันซีซีเอสต่อไร่




เป็นพันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตทั้งเปลือก 299 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะ 55.6 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตหลังกะเทาะ 167 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 และร้อยละ 26 ตามลำดับ




สภาพไร่ให้ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 175 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เมล็ดดำ ร้อยละ 37 และในสภาพนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว ให้ผลผลิตเมล็ด 183 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เมล็ดลาย มวลชีวภาพเฉลี่ยที่อายุ 60-65 วันหลังงอก 1,274 กิโลกรัมต่อไร่ ในต้นฤดูฝนสูงกว่าพันธุ์เมล็ดดำ ร้อยละ 19.8 และมีปริมาณธาตุอาหารในต้นสูงโดยมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยมเท่ากับ 31.2, 4.2 และ 24.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ




ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (น้ำหนักแห้ง) เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 90 และ 120 วัน เฉลี่ย 804.6 และ 1,160.6 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์จีนแดง ร้อยละ 13.2 และ 7.7 ตามลำดับ ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งเฉลีย 461 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์จีนแดงร้อยละ 12.3 เมื่อปลูกในดินทรายชุดยโสธร ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุ ร้อยละ 0.58 และมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 33.4 ppm สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน (N) และปุ๋ยฟอสเฟต (p2O5) ในอัตราต่ำเพียง 3 และ 6 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ




ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 6 ให้ผลผลิตสูง 122 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์มหาสารคาม 60 ปริมาณสาร antioxidants สูง 10,771 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยให้ค่าสูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 16 ปริมาณธาตุแคลเซี่ยมสูง 0.69 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 6 เปลือกเมล็ดบาง




ผลผลิตเฉลี่ย 203 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมแปซิฟิคของ 38 ของบริษัท ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 218 กิโลกรัมต่อไร่ ทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์แปซิฟิค 33 มีการติดเมล็ดสูงร้อยละ 92




ฝักยาว ตรง จำนวนฝักที่มี 3-4 เมล็ด มีมากถึง 44 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าพันธุ์กาฬสินธุ์ 1 ซึ่งมีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ เปลือกฝักค่อนข้างเรียบ ทำให้ล้างฝักสดให้สะอาดได้ง่าย มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดถั่วต้มในประเทศไทย ให้ผลผลิตฝักแห้งสูงกว่าพันธุ์กาฬสินธุ์ 1 ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ คือผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสด 405 กิโลกรัมต่อไร่




ผลผลิตอ้อยสดเฉลี่ย 13.4 ตันต่อไร่ สูงกว่าอ้อยพันธุ์ตรวจสอบ F154 ร้อยละ 29 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.8 ตันต่อไร่ สูงกว่าอ้อยพันธุ์ตรวจสอบ F154 ร้อยละ 38 ทนทานต่อโรคแส้ดำและหนอนกอ ต้านทานโรคใบขาวปานกลาง




ผลผลิตฝักแห้ง 411 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดเมล็ดโตใกล้เคียงกับพันธุ์ขอนแก่น 60-3 ให้ผลผลิตสูงกว่าและมีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมดีกว่าพันธุ์ขอนแก่น 60-3 อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ขอนแก่น 60-3 ประมาณ 6 วัน ต้านทานโรคยอดไหม้ และทนทานต่อโรคราสนิม โรคใบจุดสีดำ




ผลผลิตเฉลี่ย 135 กิโลกรัมต่อไร่ จากการทดสอบในศูนย์ในไร่เกษตรกรให้ผลผลิต 102 กิโลกรัมต่อไร่ขนาดเมล็ดโตกว่างาดำ พื้นเมือง มีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อมนุษย์สูงกว่างาดำพื้นเมืองพันธุ์นครสวรรค์ และสารต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระสูงกว่างาดำนครสวรรค์ ร้อยละ 8 ปรับตัวกับสภาพการปลูกได้ดี โดยมีความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิต




ผลผลิตเนื้ออ้อย 6.3 ตันต่อไร่ ถ้าความหวาน 19.3 บริกซ์ มีจานวน 13,260 ลำต่อไร่ การไว้ตออ้อยดี ให้ผลผลิตอ้อยตอ 16.3 ตันต่อไร่ น้ำอ้อยสีเหลืองอมเขียว รสชาติหวานหอม ผลผลิตน้ำอ้อย 4,900 ลิตรต่อไร่ ต้านทานต่อโรคลำต้นเน่าแดง โรคใบขาว และโรค แส้ดำในสภาพธรรมชาติ และค่อนข้างต้านทานต่อหนอนกออ้อย




ให้ผลผลิตเฉลี่ย 312 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ สจ.5 และเชียงใหม่ 60 ร้อยละ 16 และ 12 ตามลำดับ ในฤดูแล้งให้ผลผลิตสูง 356 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ สจ.5 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ เชียงใหม่ ร้อยละ17




ให้ผลผลิตทะลายปาล์มสูงสุด 3,060 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (ผลผลิตเฉลี่ย 8 ปี) สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และต่ำกว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม สุราษฎร์ธานี 1 และ 2 เพียง 1 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้จำนวนทะลายสูง 12 ทะลายต่อต้นต่อปี มีกะลาบางเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์มาตรฐาน 142 มีกะลาต่อผล 10 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก)




1.)ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,839 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (หรือ 124.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี) สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 8.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,613 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (หรือ 114.6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี) 2.)ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 732.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันดิบ 679.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3.)ลักษณะต้นสูงปานกลางโดยเมื่ออายุ 9 ปีมีความสูง 266 เซนติเมตร ซึ่งจะเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ที่มีความสูง 308 เซนติเมตร




1.)ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,989 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 15.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 132.4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสด 2,613 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี หรือ 114.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 2.)ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 726.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 6.9 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันดิบ 679.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3.)เปลือกนอกสดต่อผล 86.3 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กะลาต่อผล 6.7เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบางกว่าเกณฑ์มาตรฐาน




ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.04 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (15.91 ตันต่อไร่) ร้อยละ 13 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.53 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (2.01 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 26 มีความหวานเฉลี่ย 13.54 ซีซีเอส สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (12.65 ซีซีเอส) ร้อยละ 7 ในดินร่วนปนทราย เขตมีน้ำเสริม




1.)ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 251 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 17 2.)ขนาดเมล็ดใหญ่ตรงตามความต้องการของตลาดโดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 59.8 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 16 3.)เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดของถั่วงอกสูงและมีรสชาติหวานมากกว่า พันธุ์พิษณุโลก 2 4.)ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง มีการหักล้มของลำต้นน้อยกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 5.)อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใกล้เคียงกับพันธุ์พิษณุโลก 2 6.)ความสูงของลำต้นจากพื้นดินถึงข้อที่สอง สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกล




1.)ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสดเมื่อปลูกทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนสูงกว่าพันธุ์รับรองทุกพันธุ์ โดยให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 6.08 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 27.7 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตแป้ง 1.71ตันต่อไร่ และผลผลิตมันเส้น 2.35 ตันต่อไร่ 2.)งอกเร็วมากประมาณ 6 วันหลังจากปลูก ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปใช้เวลางอก 14 วัน หลังปลูก ดังนั้น สามารถปลูกปลายฤดูฝนได้ดีเนื่องจากให้ความงอกเร็วกว่าทุกพันธุ์จึงเป็นโอกาสให้การเจริญเติบโตได้เร็วในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตคือ ในช่วงอายุ 1-2 เดือนหลังปลูก ซึ่งในขณะนั้นดินยังมีความชื้นอยู่ และสามารถฟื้นตัวหรือเจริญเติบโตได้เร็วเมื่อได้รับน้ำฝนอีกครั้งหลังจากผ่านช่วงฤดูแล้งอันยาวนานด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นพันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูกทั้งปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝนได้ดี 3.)จำนวนลำต้นที่แตกออกจากท่อนปลูก 2-4 ลำต้นต่อหลุม ทำให้คลุมวัชพืชได้ดีในช่วง 3 เดือนหลังจากปลูก นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์ที่มีทรงต้นดีไม่แตกกิ่ง เป็นผลทำให้ลำต้นไม่หักล้มสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว 4.)จำนวนหัวต่อต้นมากถึง 11 หัวต่อต้น มีขนาดของหัวใกล้เคียงกันโดยหัวออกรอบโคนลำต้นและเรียงกันเป็นชั้นและไม่มีก้านหัวคือหัวขาดยากเมื่อเก็บเกี่ยว ดังนั้น จึงเหมาะกับการใช้เครื่องขุดในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 5.)เมื่อปลูกในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง จะให้ลำต้นแข็งแรง ไม่แตกกิ่ง และไม่เกิดปัญหาหักล้มเมื่อเทียบกับพันธุ์รับรองทุกพันธุ์




ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,110 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 72 ร้อยละ 16 และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อการค้าเฉลี่ยร้อยละ 7 มีความต้านทานโรคราน้ำค้างสูง ในระดับเดียวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 72 มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก




1.)ให้ผลผลิตแป้งและผลผลิตมันแห้งสูง 1.24 และ 2.11 ตันต่อไร่ ตามลำดับ 2.)ให้ผลผลิตเอทานอลสูงทุกอายุเก็บเกี่ยว โดยเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8 12 และ 18 เดือน จะให้ผลผลิตเอทานอล 191 208 และ 194 ลิตร จากหัวสด 1 ตัน ซึ่งจะสูงกว่าพันธุ์ระยอง 90 ที่ให้เอทานอล เพียง 170 174 และ 155 ลิตร จากหัวสด 1 ตัน จากการทดสอบการผลิตในโรงงานต้นแบบ พบว่า การผลิตเอทานอล 1 ลิตร จะต้องใช้หัวมันสดพันธุ์ระยอง 9 ที่มีน้ำหนัก 5.05 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 90 ที่ใช้หัวสด 5.68 กิโลกรัม จากการศึกษาจะเห็นได้ว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 จะสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลได้ลิตรละ 40 และ 84 สตางค์ เมื่อหัวมันสำปะหลังสดราคากิโลกรัมละ 1.00 บาท และ 1.70 บาท ตามลำดับ 3.)ทรงต้นดี สูงตั้งตรง ได้ต้นสำหรับขยายพันธุ์มาก อัตราการขยายพันธุ์สูงกว่า 1 : 8




ต้านทานต่อโรคราสนิมโดยในสภาพไร่จะแสดงลักษณะแผลสีน้ำตาลแดงสร้างสปอร์น้อย (Reddish Brown type) ส่วนใหญ่ในห้องปฏิบัติการต้านทานต่อเชื้อโรคราสนิมโดยมีอัตราความรุนแรงของโรคราสนิมช้า เปอร์เซ็นต์ความเสียหายของใบต่ำ และมีเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของผลผลิตน้อย




ให้ผลผลิตสูงในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 20.7 และ 13.5 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 10 และ 17 ตามลำดับ ต้านทานโรคแส้ดำ ที่เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminae ออกดอกช้า ทำให้น้ำหนักและความหวานไม่ลดลง




ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 250 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 14 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตเมล็ดดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักถั่วงอกสดสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 6 และมีรสชาติหวานกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เป็นพันธุ์ที่ไม่มีขนที่ใบและฝักทำให้เก็บเกี่ยวง่าย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น




ให้ผลผลิตเฉลี่ย 291 กิโลกรัมต่อไร่ โดยให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1 ร้อยละ 13 มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น คือ 77 วัน ใกล้เคียงกับพันธุ์นครสวรรค์ ต้านทานต่อโรคราน้ำค้างสภาพไร่ในเขตภาคเหนือตอนล่างดีกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1




ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.79 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (14.82 ตันต่อไร่) ร้อยละ 20 และ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (16.91 ตันต่อไร่) ร้อยละ 5 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.66 ตัน ซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (2.28 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 17 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.52 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 6 ในดินร่วนปนทราย เขตชลประทาน ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำระดับปานกลาง




ให้ผลผลิตสูง อ้อยปลูกมีน้ำหนักเฉลี่ย 18.1 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ1 16.5 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 25 และ 28 ตามลำดับ ไม่ออกดอก ทำให้น้ำหนักและความหวานไม่ลดลง กาบใบหลวมเก็บเกี่ยวง่าย




1. ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.23 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (14.96 ตันต่อไร่)ร้อยละ 15 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (16.94 ตันต่อไร่) ร้อยละ 2 โดยให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยในอ้อยปลูก 19.53 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 16.76 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 14.47 ตันต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย อ้อยปลูก 17.64 ตันต่อไร่ อ้อยตอ 1 13.69 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 12.84 ตันต่อไร่ ส่วนพันธุ์อู่ทอง 3ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 19.64 ตันต่อไร่ อ้อยตอ 1 15.26 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 15.39 ตันต่อไร่ 2. ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.63 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ K 84-200 (2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่)ร้อยละ 14 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.51 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 5 โดยให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.97 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.49 ตันซีซีเอสต่อไร่ และในอ้อยตอ 2 2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.64 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.10 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 2 2.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.95 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.21 ตันซีซีเอสต่อไร่ และในอ้อยตอ 2 2.31 ตันซีซีเอสต่อไร่




1.) ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,106 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 72 และนครสวรรค์ 2 ร้อยละ 20 และ 4 และผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า ซีพี-ดีเค 888 2.) มีความทนแล้งในระยะออกดอกโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่ 3.) เก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย




1.) ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.50 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (11.19 ตันต่อไร่) ร้อยละ 56 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (14.25 ตันต่อไร่) ร้อยละ 23 2.)ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.45 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (1.56 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 57 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.04 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 20 3.) ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงดีกว่าพันธุ์อู่ทอง 3




1. ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 4.44 ตันต่อไร่ มีแป้ง 26.1 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเด่น คือ มีเปอร์เซ็นต์แป้งและผลผลิตแป้งเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานทุกพันธุ์โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 9 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 3.9, 1.4, 4.9 และ 3.2 % และผลผลิตแป้งเฉลี่ยสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 16, 2, 7 และ 11 ตามลำดับ ช่วยให้เกษตรกรขายหัวมันได้ราคาสูงและภาคอุตสาหกรรมมีวัตถุดิบคุณภาพดี ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 2. ต้านทานต่อโรคใบไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาลดีกว่าพันธุ์ระยอง 1 ระยอง 9 และระยอง 90




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,646 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ กรมวิชาการเกษตร 6.6 เปอร์เซ็นต์ 2. ผลผลิตน้ำมันดิบสูง ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 881 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร 17.1 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 12.4 เปอร์เซ็นต์ 3. เนื้อในต่อผลสูง มีเนื้อในต่อผลเฉลี่ย 11 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน




1.ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าพันธุ์ สจ. 5 และ เชียงใหม่ 60 ในฤดูแล้ง (367 กิโลกรัมต่อไร่) ประมาณร้อยละ 12 และ 15 ในฤดูฝน (289 กิโลกรัมต่อไร่) ประมาณร้อยละ 13 และ 12 และรวมทั้ง 2 ฤดู (322 กิโลกรัมต่อไร่) ประมาณร้อยละ 12 และ 13 2. ทนทานต่อโรคราสนิมและต้านทานต่อโรคราน้ำค้างสูงกว่าพันธุ์ สจ. 5 และเชียงใหม่ 60




1. ในเขตชลประทาน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 19.77 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (14.02 ตัน/ไร่) ร้อยละ 41 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (11.57 ตัน/ไร่) ร้อยละ 71 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 20.80 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 1 18.31 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 20.36 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.85 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (2.05 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 39 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.68 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 70 และความหวาน 14.42 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 14.66 และ 14.60 ซีซีเอส ตามลำดับ 2. ในเขตที่มีน้ำเสริม ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.28 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (13.79 ตัน/ไร่) ร้อยละ 11 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (12.88 ตัน/ไร่) ร้อยละ 19 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 18.32 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 1 14.33 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 12.15 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.12 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (1.81 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.84 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 15 และความหวาน 13.83 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 13.12 และ 14.24 ซีซีเอส ตามลำดับ 3. ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง




1. ในเขตชลประทานให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.24 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (14.02 ตัน/ไร่) ร้อยละ 30 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (11.57 ตัน/ไร่) ร้อยละ 58 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 19.76 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 1 17.75 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 16.86 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.67 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (2.05 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 30 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.68 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 59 และความหวาน 14.66 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K 84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 14.66 และ 14.60 ซีซีเอส ตามลำดับ 2. ในเขตที่มีน้ำเสริม ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 13.25 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (11.49 ตัน/ไร่) ร้อยละ 15 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (10.14 ตัน/ไร่) ร้อยละ 31 ซึ่งเฉลี่ยจากผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 15.34 ตัน/ไร่อ้อยตอ 1 12.16 ตัน/ไร่ อ้อยตอ 2 12.24 ตัน/ไร่ และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.75 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (1.48 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 18 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.41 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 24 และความหวาน 13.21 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์ K 84-200 และอู่ทอง 3 ความหวาน 12.86 และ 13.59 ซีซีเอส ตามลำดับ 3. ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง 4. ต้านทานโรคแส้ดำปานกลาง




1. ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่นฝ้าย 2. ต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดี ในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2 3. ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ดเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ สูงในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2 4. เปอร์เซ็นต์หีบหรือเส้นใยสูงกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 และคุณภาพเส้นใยดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นใยมีความยาวถึง 1.23 นิ้ว และมีความเหนียวของกลุ่มเส้นใยกับความละเอียดอ่อนดีในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2




1. ให้ผลผลิตฝักแห้ง 315 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ร้อยละ 15 และ 10 ตามลำดับ 2. มีขนาดขนาดเมล็ดโต โดยน้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 54.3 กรัม ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ไทนาน 9 และ ขอนแก่น 5 ร้อยละ 24 และ 13 ตามลำดับ




1. ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 กิโลกรัมต่อไร่ 2. มีคุณภาพความเหนียวนุ่ม 3. ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม




1. มีกลิ่นหอมของถั่วเหลืองและกลิ่นเหม็นเขียวน้อยซึ่งเป็นที่ยอมรับของบริษัทผู้ผลิตน้ำนมถั่วเหลืองในระดับอุตสาหกรรม 2. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 358 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 10 3. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและมีความงอกสูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 9-12 ทำให้เก็บรักษาได้ยาวนานขึ้น 4. ต้านทานต่อโรคใบจุดนูนของถั่วเหลือง




1. มีขนาดเมล็ดโต โดยน้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 49.9 กรัม ซึ่งโตกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่มีน้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 43.0 และ 47.5 กรัม ตามลำดับ 2. ให้ผลผลิตฝักแห้ง 289 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงใกล้เคียงกับถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่ให้ผลผลิต 288 และ 290 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ 3. ให้ผลผลิตฝักสด 643 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ขอนแก่น 5 (646 กิโลกรัมต่อไร่) แต่สูงกว่าพันธุ์ไทนาน 9 ร้อยละ 5 และให้ผลผลิตฝักสด 786 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่ากลุ่มพันธุ์ถั่วลิสงฝักสดสำหรับต้มจึงเหมาะสำหรับทำเป็นถั่วต้ม 4. ค่อนข้างทนทานต่อโรคโคนเน่าขาว (เชื้อสาเหตุ Sclerotium rolfsii)




1. ผลผลิตสูง โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 226 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 4 และ 7 ตามลำดับ 2. เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น โดยให้เปอร์เซ็นต์แป้ง 54.85 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 5 และ 4 ตามลำดับ และให้ผลผลิตแป้ง 124 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 9 และ 12 ตามลำดับ 3. ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 69 กรัม สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 5 และ 6 ตามลำดับ 4. น้ำหนักถั่วงอกสูงและมีรสชาติค่อนข้างหวาน เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักถั่วงอกสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 3 และ 1 ตามลำดับ




1. ฝักสดต้มสุกให้เมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ใกล้เคียงกับพันธุ์ Kaori ซึ่งเป็นพันธุ์การค้าสำหรับปลูกในประเทศไทยในปัจจุบัน 2. ให้ผลผลิตฝักสดได้มาตรฐาน (ฝักยาว 4.5 ซม. กว้าง 1.5 ซม. และหนา 0.8 ซม.) ในฤดูแล้ง 757 กิโลกรัมต่อไร่ และในฤดูฝน 963 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ Kaori ร้อยละ 116 และ 38 ตามลำดับ เฉลี่ยทั้ง 2 ฤดู 853 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ Kaori ร้อยละ 67 3. ความสามารถในการปรับตัวได้กว้าง สายพันธุ์ MJ0108-11-5 สามารถปรับตัวได้กว้าง และถ้าต้องการได้ผลผลิตสูง ในฤดูแล้งควรแนะนำปลูกในเขตเชียงใหม่ (2) และที่พิษณุโลก ส่วนในฤดูฝนควรแนะนำปลูกในเขตเชียงใหม่ (2) เช่นเดี่ยวกับในฤดูแล้ง และในเขตพื้นที่ลพบุรี




1. ให้ผลผลิตสูง โดยมีผลผลิตน้ำหนักฝักทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,858 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 2,165 กิโลกรัมต่อไร่ 2. มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคฝักสด โดยมีค่าความหวานสูงเฉลี่ย 16.0 องศาบริกซ์ มีเนื้อเมล็ดมาก แกนฝักเล็ก รสชาติฝักต้มดี




1. ในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.92 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (14.18 ตัน/ไร่) ร้อยละ 19 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (14.11 ตัน/ไร่) ร้อยละ 20 ส่วนผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.40 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (2.06 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 17 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.94 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 24 2. ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง 3. ต้านทานปานกลางต่อโรคแส้ดำ




1. ในเขตใช้น้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 14.30 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (10.70 ตัน/ไร่) ร้อยละ 34 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (9.88 ตัน/ไร่) ร้อยละ 45 2. ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.99 ตันซีซีเอส/ไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (1.51 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 32 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (1.40 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 42




1. ผลผลิต 134 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 6 และให้ผลผลิตในเขตปลูกงาจังหวัดลพบุรีและเพชรบูรณ์ เฉลี่ย 142 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 10 2. ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ 10,451 มก./กก. สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 15 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเซซามิน สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ร้อยละ 15




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,543 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 16.0 เปอร์เซ็นต์ 2. น้ำมันดิบต่อทะลายสูง มีน้ำมันดิบทะลายเฉลี่ย 24.8 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 12.7 เปอร์เซ็นต์ 3. ผลผลิตน้ำมันดิบสูง มีผลผลิตน้ำมันดิบ 878.7 กก.ต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 12.3 เปอร์เซ็นต์




1. ให้ผลผลิตแป้งสูงเฉลี่ย 1,196 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 9 ร้อยละ 16 14 และ 9 ตามลำดับ 2. มีแป้งสูงเฉลี่ย 26.3 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 9 ร้อยละ 14 11 และ 5 ตามลำดับ 3. ให้ผลผลิตหัวสดสูงเฉลี่ย 4,513 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 9 ร้อยละ 3 3 และ 4 ตามลำดับ




1. มีเส้นใยเป็นสีเขียวตามธรรมชาติ (GREYED GREEN : 195B) และมีคุณภาพเส้นใยดีระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2 2. ต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดี ในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 2




1. ให้ผลผลิตสูง โดยพันธุ์ CNSH7550 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,589 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,898 กิโลกรัมต่อไร่ 2. อัตราแลกเนื้อหมายถึงสัดส่วนของน้ำหนักเมล็ดทั้งฝักต่อน้ำหนักฝักทั้งเปลือกโดยข้าวโพดหวานพันธุ์ CNSH7550 มีอัตราแลกเนื้อ 40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่พันธุ์ไฮบริกซ์ 3 มีอัตราแลกเนื้อ 31 เปอร์เซ็นต์ 3. ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม 4. พันธุ์ CNSH7550 มีรสชาติหวานให้ความหวาน 13.8 องศาบริกซ์ ไม่แตกต่างจากพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ที่ให้ความหวาน 14.3 องศาบริกซ์




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยมากกว่า 4.5 ตันต่อไร่ต่อปี ที่อายุ 4-5 ปี เมื่อปลูกในพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมกับปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตทะลายสดสูงกว่าค่ามาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรและมาตรฐาน SIRIM 2. น้ำมันดิบต่อทะลายสูง ผลจากการวิเคราะห์น้ำมันจากห้องปฏิบัติการ ได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 26 ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานของปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ SIRIM กำหนดไว้ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 24) 3. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบต่อไร่สูงกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (คำนวณจากน้ำมันดิบต่อทะลาย X ผลผลิตทะลายสดต่อต้นต่อปี) x 22 ต้นต่อไร่




ข้าวฟ่างสายพันธุ์ UT1658 ให้ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ยเท่ากับ 597 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เฮกการีหนัก (549 กิโลกรัมต่อไร่) ร้อยละ 9 มีความสูงต้นเฉลี่ย 151 เซนติเมตร ซึ่งเตี้ยกว่าพันธุ์เฮกการีหนัก (240 เซนติเมตร) 89 เซนติเมตร เมล็ดข้าวฟ่างสายพันธุ์ UT1658 มีสีขาว ลักษณะเมล็ดกลมค่อนข้างแบน มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 27.8 กรัม




1. ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,897 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,965 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ชัยนาท 86-1 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,779 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,805 กิโลกรัมต่อไร่ และพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 2,673 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตฝักสดปอกเปลือก 1,751 กิโลกรัมต่อไร่ 2. คุณภาพด้านการรับประทานใกล้เคียงกับพันธุ์ไฮบริกซ์ 3 3. มีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่




1. ควรปลูกอ้อยพันธุ์อู่ทอง 14ในพื้นที่ดินด่าง pH 7.5-8.1 ดินชุดตาคลีและดินชุดลำนารายณ์ 2. ในดินด่าง pH 7.8 อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 21.19 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (14.96 ตัน/ไร่) ร้อยละ 42 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 3.34 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (2.12 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 58 3. ในดินด่างชุดตาคลี pH 8.1 อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14ให้ผลผลิตน้ำหนัก 17.1 ตัน/ไร่ ในอ้อยปลูกและ 11.0 ตัน/ไร่ ในอ้อยตอ 1 ในขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตน้ำหนัก 14.0 ตัน/ไร่ ในอ้อยปลูก และ 9.3 ตัน/ไร่ ในอ้อยตอ 1 4. ในดินด่างชุดลำนารายณ์ pH 8.0 อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 27.32 ตัน/ไร่ ขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 24.19 ตัน/ไร่ ในอ้อยปลูก เมื่อไม่ปรับปรุงดินและปรับปรุงดินด้วยการใส่กำมะถันผงในอ้อยปลูก อ้อยพันธุ์อู่ทอง 14ให้ผลผลิตน้ำหนัก 28.64 ตัน/ไร่ ขณะที่พันธุ์ LK92-11 ให้ผลผลิตน้ำหนัก 24.95 ตัน/ไร่ 5. ในฤดูปลายฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.28 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (16.56 ตัน/ไร่) ร้อยละ 10 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.57 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.37 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 8 6. ในฤดูต้นฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.53 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (11.94 ตัน/ไร่) ร้อยละ 5 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.83 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (1.53 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 20 7. ผลผลิตของอ้อยพันธุ์อู่ทอง 14 จากการทดลองปี 2540-42 เฉลี่ย 19.72 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 16.49 ตัน/ไร่ หรือสูงกว่าร้อยละ 19.59 และมีความหวานเฉลี่ย 15.52 ซีซีเอส ขณะที่พันธุ์อู่ทอง 3 มีความหวานเฉลี่ย 14.26 ซีซีเอส 8. ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง




1. ในดินร่วนปนทราย ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.97 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (15.08 ตัน/ไร่) ร้อยละ 13 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (15.55 ตัน/ไร่) ร้อยละ 9 และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.47 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (2.22 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 11 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.36 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 5 2. ในฤดูปลายฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.91 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (14.53 ตัน/ไร่) ร้อยละ 23 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.37 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.12 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 12 3. ในฤดูต้นฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.42 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (11.03 ตัน/ไร่) ร้อยละ 13 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.79 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (1.56 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 15




1. ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลสูง การปลูกอ้อยปลายฝนอาศัยน้ำฝน ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลเฉลี่ย 17.79 และ 2.14 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 15 และ 4 ตามลำดับ 2. การปลูกต้นฝนอาศัยน้ำฝน ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลเฉลี่ย 13.23 และ 1.70 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 16 และ 7 ตามลำดับ




1. ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลสูง ในพื้นที่ใช้น้ำฝน ปี 2549-2551 ให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลเฉลี่ย 12.47 และ 1.71 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 ร้อยละ 20 และ 18 ตามลำดับ และสูงกว่าอู่ทอง 3 ร้อยละ 30 และ 29 ตามลำดับ ในเขตน้ำฝน ปี 2553-2557 ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลเฉลี่ย 16.56 และ 2.20 ตันต่อไร่ ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 24 และ 13 ตามลำดับ 2. ต้านทานโรคแส้ดำ ในอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1 ขณะที่พันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 ต้านทานปานกลาง




1. เส้นใยเป็นสีน้ำตาลตามธรรมชาติ (GREYED ORANGE: 164B) 1/ 2. มีความละเอียดอ่อนของเส้นใยมากกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 3. ให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับพันธุ์ตากฟ้า 2




1. ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 228 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 24 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 2. เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง 6,075 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 1,000 กรัมสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 80 และพิษณุโลก 2 3. ต้านทานสูงต่อโรคแอนแทรคโนส




1. ให้ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 66 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 52 กรัม ร้อยละ 27 2. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 275 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่ร้อยละ 19 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 3. เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักถั่วงอก 6,005 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 และชัยนาท 80 4. ต้านทานโรคแอนแทรคโนส




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3.77 ตันต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสม สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2.87 ตันต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 31.0 เปอร์เซ็นต์ หรือ ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย (อายุ 3-5 ปี) 3.2 ตันต่อไร่ต่อปี และให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย (อายุ 6-10 ปี) 4.6 ตันต่อไร่ต่อปี 2. เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายสูง มีน้ำมันต่อทะลาย 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดจากโรงงาน (Oil extraction rate : OER) 21.8 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นผลผลิตน้ำมันดิบ 821.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 23.8 เปอร์เซ็นต์ 3. ลักษณะผลมีเปลือกนอกหนาและกะลาบาง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานและใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสม สุราษฎร์ธานี 3 โดยมีเปลือกนอกสดต่อผล 86.5 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) และมีกะลาต่อผล 7.5 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์)




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ร้อยละ 13 และ 6 ตามลำดับ 2. ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 72.2 กรัม 3. เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง และอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 5.7 คุณภาพของถั่วงอก รสชาติหวาน กรอบ และไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว 4. เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น ลักษณะวุ้นเส้นมีสีขาวใส และเหนียวนุ่ม 5. การสุกแก่ของฝักสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน




1. ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,092 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่านครสวรรค์ 2 ร้อยละ 7 และผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์นครสวรรค์ 3 และพันธุ์ลูกผสมการค้า 2. มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 695 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่านครสวรรค์ 3 ร้อยละ 12 เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน โดยผลผลิตลดลงร้อยละ 49 ในขณะที่พันธุ์นครสวรรค์ 3 ผลผลิตลดลงร้อยละ 54 จากสภาพให้น้ำสม่ำเสมอ 3. เก็บเกี่ยวด้วยมือง่าย 4. มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ในระดับปานกลาง




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 10 และใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมการค้า 2. มีความทนทานแล้งในระยะออกดอก โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 749 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อกระทบแล้งช่วงออกดอกนานหนึ่งเดือน (ผลผลิตลดลงร้อยละ 49 จากสภาพให้น้ำสม่ำเสมอ) สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 27 3. มีความต้านทานต่อโรคทางใบที่สำคัญ ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคราสนิม ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maize dwarf mosaic virus (SCMV-MDB) 4. สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นที่อายุ 95-100 วัน ฝักแห้งเร็ว หรือมีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ต้นยังเขียวสด




1. มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 8 เดือน 2. ผลผลิตหัวสดสูงเฉลี่ย 4,632 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นร้อยละ 10 18 5 และ 4 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน 3. เปอร์เซ็นต์แป้งสูงเฉลี่ย 29.2 สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 คิดเป็นร้อยละ 4 1 และ 5 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน 4. ผลผลิตแป้งสูงเฉลี่ย 1,355 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50 คิดเป็นร้อยละ 13 18 10 และ 2 ตามลำดับ เมื่ออายุ 8 เดือน




1. ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 5,647 ลิตร/ไร่ เปอร์เซ็นต์หีบ 38.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 14 และ 13 ตามลำดับ มีความหวาน 19.1 องศาบริกซ์ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 และมีกลิ่นหอม 2. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.47 ตัน/ไร่ โดยให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 14 มีความหวานเฉลี่ย 13.69 ซีซีเอส และให้ผลผลิตน้ำตาล 2.53 ตันซีซีเอส/ไร่ 3. ต้านทานโรคแส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง




1. ผลผลิตฝ้ายปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 196 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 ร้อยละ 68 2. ทนทานต่อเพลี้ยจักจั่นฝ้าย 3. ต้านทานต่อโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดี ในระดับเดียวกับพันธุ์ตากฟ้า 3 4. สมอมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 โดยมีน้ำหนักปุย 4.91 กรัมต่อสมอ 5. เปอร์เซ็นต์หีบ ความยาว และความละเอียดอ่อนของเส้นใย ดีกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 โดยฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 7 มีเปอร์เซ็นต์หีบ 36.4 % มีความยาวเส้นใย 1.02 นิ้ว ซึ่งจัดเป็นฝ้ายเส้นใยยาวปานกลางและมีความละเอียดอ่อนของเส้นใยในระดับปานกลาง (4.4) ในขณะที่พันธุ์ตากฟ้า 3 มีเปอร์เซ็นต์หีบที่ต่ำกว่าคือ 32.9 % มีความยาวเส้นใยเพียง 0.84 นิ้ว ซึ่งจัดเป็นฝ้ายเส้นใยสั้น และมีความหยาบของเส้นใยมากกว่า (5.3)




1. ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,132 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 84-1 ร้อยละ 3 และพันธุ์ สวีทแวกซ์ 254 ร้อยละ 20 และให้ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,306 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ชัยนาท 84-1 และสูงกว่าพันธุ์สวีทแวกซ์ 254 ร้อยละ 3 2. เมล็ดมีสีขาวม่วง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค 3. คุณภาพเหนียวนุ่ม เหมาะกับการรับประทานฝักสด 4. ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว




1. ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์มาตรฐานที่อยู่ในกลุ่มขนาดเมล็ดปานกลาง โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ดเท่ากับ 52.8 กรัม โตกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่มีน้ำหนัก 100 เมล็ด เท่ากับ 44.2 และ 48.5 กรัม ร้อยละ 19 และ 9 ตามลำดับ 2. ให้ผลผลิตฝักแห้ง 264 กิโลกรัมต่อไร่สูงกว่าถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 ที่มีผลผลิตฝักแห้งเท่ากับ 247 และ 250 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 7 และ 6 ตามลำดับ




1. ให้ผลผลิตเฉลี่ยในแหล่งปลูกสำคัญ (เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์) 216 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (192 กิโลกรัม/ไร่) และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 (206 กิโลกรัม/ไร่) ร้อยละ 12 และ 5 ตามลำดับ ในแหล่งปลูกทั่วไปให้ผลผลิตเฉลี่ย 130 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่างาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (117 กิโลกรัม/ไร่) ร้อยละ 11 2. ปริมาณน้ำมันเฉลี่ย 46.4% สูงกว่างาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (45.5%) และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 (45.8%) ร้อยละ 2 และ 1 ตามลำดับ 3. มีความต้านทานต่อการทำลายของมวนฝิ่นสีเขียว




1. มีเส้นใยเป็นสีน้ำตาลตามธรรมชาติ (GREYED ORANGE: 165C)1/ 2. ให้ผลผลิตสูง 154 กิโลกรัมต่อไร่ 3. ต้านทานต่อโรคใบหงิก 4. ทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย 5. มีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 ประมาณ 10 วัน 1/ ใช้แผ่นคู่มือเทียบสีพืชผักและผลไม้: Royal Horticultural Society (RHS Colour Chart) (Fifth edition). 2007.




1. ให้ผลผลิตน้ำอ้อยเฉลี่ย 3,622 ลิตรต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 26 2. ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 11.43 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 21 3. รสชาติน้ำอ้อย มีความหวาน 21.54 องศาบริกซ์ มากกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ร้อยละ 2 4. สีน้ำอ้อยมีสีเหลืองอมเขียว (green yellow 1C) เช่นเดียวกับพันธุ์สุพรรณบุรี 50 5. ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำ




1. ความหวานสูง 15.77 ซีซีเอส สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 และพันธุ์ขอนแก่น 3 ร้อยละ 10 และ 7 ตามลำดับ 2. ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.82 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ร้อยละ 18 และเท่ากับพันธุ์ขอนแก่น 3 3. ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 18.02 ตัน/ไร่ ไม่แตกต่างทางสถิติจากพันธุ์ LK92-11 และพันธุ์ขอนแก่น 3 4. ต้านทานโรคเหี่ยวเน่าแดงปานกลาง




ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 304 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 และเชียงใหม่ 6 ร้อยละ 8 และ 11 ตามลำดับ




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,378.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 27.3 เปอร์เซ็นต์ 2. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง ให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 997.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ สุราษฎร์ธานี 3 คิดเป็น 27.7 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายคูณผลผลิตทะลายสด ทั้งนี้คู่ผสม 214 มีน้ำมันต่อทะลาย 26.8 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน (Oil extraction rate: OER) 22.8 เปอร์เซ็นต์) 3. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 8.9 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 41.3 เปอร์เซ็นต์




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,139.7 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 20.4 เปอร์เซ็นต์ 2. ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบสูง ให้ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 950.1 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ สุราษฎร์ธานี 3 คิดเป็น 21.7 เปอร์เซ็นต์ (คำนวณจากเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่อทะลายคูณผลผลิตทะลายสด ทั้งนี้คู่ผสม 173 มีน้ำมันต่อทะลาย 27.0 เปอร์เซ็นต์ หรือเทียบเท่าอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มดิบของโรงงาน (Oil extraction rate: OER) 23.0 เปอร์เซ็นต์) 3. ลักษณะผลมีเปลือกนอกหนาและกะลาบาง มีเปลือกนอกสดต่อผล 87.6 เปอร์เซ็นต์ และมีกะลาต่อผล 6.0 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 84.0 เปอร์เซ็นต์ และ 9.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ




1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,310.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 25.3 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 10.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 60.3 เปอร์เซ็นต์ 3. ลักษณะผลมีกะลาบาง มีกะลาต่อผล 8.7 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีกะลาต่อผล 9.7 เปอร์เซ็นต์




1. ให้ผลผลิตอ้อย 11.71 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 4 ให้ผลผลิตชานอ้อยเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 41 และ 60 ตามลำดับ มีปริมาณเยื่อใยเฉลี่ยร้อยละ 17.12 สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 37 และ 56 ตามลำดับ ให้ผลผลิตกากน้ำตาล 523 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 5 และ 3 ตามลำดับ 2. ให้พลังงานไฟฟ้า 596 กิโลวัตต์ต่อไร่ และพลังงานแก๊สชีวภาพ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ร้อยละ 11 และ 12 ตามลำดับ