สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชสวน มีทั้งสิ้น 118 รายการ


ลำต้นไม่แตกคุณภาพดีผลผลิต 1,500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ร้านค้า 10 เปอร์เซ็นต์




เป็นพันธุ์เบา มีความบริสุทธิ์ รสชาติและลักษณะของฝักอยู่ในความนิยมของตลาด ต้านทานต่อโรคราสนิม และโรคราแป้งปานกลาง




รสชาติและลักษณะของฝักอยู่ในความนิยมของตลาด มีความต้านทานโรคราสนิม และโรคราแป้งปานกลาง




เปอร์เซ็นต์หัวแตกและผิดปกติต่ำ และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์จากร้านค้า และพันธุ์พื้นเมืองประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์




พริกแห้งจะมีสีแดงเข้มเป็นมันเหยียดตรงไม่บุบบี้ทำให้เสียราคา




อายุการออกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 4 ปี 6 เดือนในปีที่ 13 หลังปลูกให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,392 ผลต่อไร่ เมื่อปลูก 22 ต้นต่อไร่ หรือให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 572 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักเนื้อมะพร้าวสด ประมาณ 322 กรัมต่อผล น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 210 กรัมต่อผล มีน้ำมันสูงถึง 64-67 เปอร์เซ็นต์ ทนแล้งปานกลาง




ผลผลิตสูง เฉลี่ยในแปลงทดสอบพันธุ์ 4.91 ตันต่อไร่ ระยะพักตัวนานจึงเก็บรักษาได้นานต้านทานต่อโรคใบใหม้ และใบม้วน




ตกผลเร็ว เก็บผลได้ในปีที่ 5 หลังจากปลูก สูงช้ากว่าพันธุ์ไทย อายุ 10 ปี สูง 5.25-5.75 เมตร ผลมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ตรงตามความต้องการของชาวสวนมะพร้าว ให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้งต่อไร่สูงถึง 628 กิโลกรัม หรือ 2,205 ผลต่อไร่ (ปลูก 22 ต้นต่อไร่) น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลอยู่ระหว่าง 280-290 กรัม เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงอยู่ระหว่าง 64-67 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อความแห้งแล้งดีกว่าพันธุ์พ่อเวสต์แอฟริกันต้นสูง ไม่ปรากฏมีโรค และแมลงศัตรูที่ร้ายแรง ตอบสนองต่อปุ๋ยดีกว่าพันธุ์ไทยพื้นเมืองต้นสูง




ออกดอกก่อนพันธุ์อื่นให้ผลผลิตสูง น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ย 6.29 กรัม เมล็ดดีมี 89 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในเกรด 3 ของมาตราฐานโลก




ผลผลิตสูง น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ย 7.20 กรัม เมล็ดดีมี 75 เปอร์เซ็นต์ จัดอยู่ในเกรด 3 ของมาตรฐานตลาด โลก




ผลผลิตสูงประมาณ 25.6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ 29 พันธุ์ มะขามเปรี้ยวศรีสะเกษ 019 จะให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 100 เปอร์เซ็นต์ มีเปลือกฝักหนาไม่แตกง่าย ลักษณะฝักตรง ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวและการแกะเอาเปลือกและเมล็ดออก




ผลผลิตเมล็ดโกโก้แห้งสูงสุดต่อปีตลอดเวลาการทดลอง 13 ปีสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกประมาณ 31.4 เปอร์เซ็นต์ คือให้ผลผลิตเฉลี่ย 127.2 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงไม่ว่าจะผลิตโดยวิธีช่วยผสมด้วยมือ ปล่อยให้ผสมตามธรรมชาติหรือแบบผสมคละและมีความสม่ำเสมอในการให้ผลผลิต เมล็ดมีขนาดตรงตามมาตรฐานสากลคือไม่เกิน 110 เมล็ดต่อน้ำหนักเมล็ดแห้ง 100 กรัม เมล็ดมีไขมันสูงประมาณ 57.27 เปอร์เซ็นต์มีความทนทานต่อโรคกิ่งแห้งค่อนข้างสูงทนทานต่อโรคผลเน่าดำปานกลาง




ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 683 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ไทจุง 9 17.2 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าพันธุ์แม่โจ้ 2 57.1 เปอร์เซ็นต์ ขนาดฝักสด 1.5x7.58 เซนติเมตร ความกว้างเท่ากับพันธุ์ไทจุง 9 และยาวกว่า 23.6 เปอร์เซ็นต์ และยังมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์แม์โจ้ 2 ฝักสดมีรสชาติหวานกรอบไม่มีเสี้ยน มีความหวาน 7-11 องศาบริกซ์ เมล็ดสดมีความหวานมากกว่าเปลือกฝักสด




ขนาดของฝักสดกว้างและยาวกว่าพันธุ์ฝาง 7 150 และ 16.3 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตเฉลี่ย 718 กิโลกรัมต่อไร่มากกว่าพันธุ์ฝาง 7 (557 กิโลกรัมต่อไร่) 28.7 เปอร์เซ็นต์ ฝักสดมีรสชาติหวานกรอบไม่มีเสี้ยน




ผลผลิตสูงเฉลี่ย 65.4 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 7-8 ปี ผลใหญ่ เปอร์เซ็นต์เนื้อสูงและแน่น ถึง 81 เปอร์เซ็นต์ เนื้อละเอียดไม่มีเสี้ยนให้ผลผลิตสูงและสม่ำเสมอต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์น้ำดอกไม้ที่อ่อนแอต่อโรคนี้




ผลดก ผลผลิตเฉลี่ย 52.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ติดผลเร็ว มีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์สูงกว่าพันธุ์แขกดำทั่วไปที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ทนทานต่อโรคใบจุดวงแหวนในระยะต้นกล้าปานกลาง




ผลผลิตเฉลี่ย 3,415 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้า ประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ ใบแคบเรียวยาวตรงกับความต้องการของตลาดไม่ทอดยอดก่อนการเก็บเกี่ยว แตกแขนงที่โคนต้น ลักษณะลำต้นสม่ำเสมอทำให้สะดวกและประหยัดแรงงานในการตัดแต่งใบและแขนงที่โคนต้นก่อนนำส่งตลาด




อายุการตกผลเร็วเท่าพันธุ์ สวีลูกผสม 1 ให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวรวมสะสม 740.2 กิโลกรัม ใกล้เคียงกับพันธุ์สวีลูกผสม 1 ในช่วงอายุ 5-10 ปี มีน้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งต่อผลเฉลี่ย 261 กรัม ซึ่งเป็นมะพร้าวขนาดกลางและเป็นพันธุ์ที่มีขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์ลูกผสม 1 เปอร์เซ็นต์น้ำมันค่อนข้างสูงประมาณ 66 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับพันธุ์ สวีลูกผสม 1




เปอร์เซ็นต์เกรด 1 ของเนื้อในสูงกว่าพันธุ์อื่นทั้งการปลูกในที่ราบและปลูกที่สูง กะลาบาง ออกดอกดกใช้เป็นตัวให้ละอองเรณูกับพันธุ์อื่น (Pollinizer) ยกเว้นสายพันธุ์พี่น้องได้แก่ พันธุ์ 334 และพันธุ์เชียงใหม่ 700 โดยใช้ปลูกสลับกับพันธุ์อื่นในสวนขนาดใหญ่




น้ำหนักเนื้อในสูง และสม่ำเสมอกว่าพันธุ์มาตรฐานเชียงใหม่ 400 เนื้อในสีขาวครีม ขนาดผลใหญ่กะลาบาง




เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงกว่าทุกพันธุ์ เมื่อปลูกในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ขึ้นไปทนแล้ง เนื้อในเมื่อกระเทาะมีคุณภาพเยี่ยมสีสวย




น้ำหนักผล ความหนาเนื้อผล และปริมาณน้ำยางดีกว่าพันธุ์แขกดำคือ มีน้ำหนักผลเพิ่มขึ้น 30.71 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อเทียบกับพันธุ์แขกดำ) ความหนาเนื้อผลเพิ่มขึ้น 2.98 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักยางมะละกอสดเพิ่ม 74.81 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักยางมะละกอแห้งเพิ่มขึ้น 92.86 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ปาเปนเพิ่มขึ้น 10.30เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนของปาเปนเพิ่มขึ้น 77.71 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับพันธุ์ CO.2




ให้ผลผลิตสูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ คือให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,968 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ได้ 1,513 กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 23 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 13.9 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาล 2.6 เปอร์เซ็นต์ มีการแตกหน่อข้างห่างจากต้นแม่มากกว่าและมีจำนวนหน่อต่อต้น 12 หน่อ น้อยกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 25 หน่อ จึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปลิดหน่อข้างออก




ผลผลิตเฉลี่ย 1,712 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ นิโกร ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์นิโกร เปอร์เซ็นต์แป้ง 28.7 เปอร์เซ็นต์




ผลผลิตพริกแห้งเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์บางช้างประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาดคือเมื่อเป็นพริกแห้งจะมีผิวค่อนข้างเรียบเป็นมัน(พันธุ์บางช้างมีผิวค่อนข้างย่นกว่า)ใช้เวลาตากแห้งเพื่อทำพริกแห้งประมาณ 3-7 วัน ซึ่งน้อยกว่าพันธุ์บางช้าง




ผลใหญ่ เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดและเหนียวมาก เส้นใยน้อย




เนื้อหนา หวานมันพอดี เนื้อแห้ง เส้นใยน้อย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูง




เนื้อหนา สีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเส้นใยน้อยมีการสุกสม่ำเสมอทั้งผล




เนื้อมีรสชาติดีกว่าส้มโอพันธุ์ท่าข่อยทั่วไป ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี ให้ผลผลิตสูงถึงประมาณ 180 ผลต่อต้นต่อปี ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไป ที่ให้ผลผลิต 140 ผลต่อต้นต่อปี ผลค่อนข้างโต น้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 153 กิโลกรัม เปอร์เซ็นต์เนื้อสูง 56.9 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไป




ผลผลิตสูง 168.69 กิโลกรัมต่อต้น ผลไม่แตกง่ายหรือร่วงจากขั้วเร็วเกินไป รสชาติอร่อยกว่าพันธุ์สีชมพูเป็นพันธุ์เบา สามารถเก็บเกี่ยวได้ต้นฤดู สีผลและขนสวยงาม ช่อค่อนข้างยาว เมื่อจำหน่ายเป็นเงาะช่อหรือเงาะพวงจะได้ราคาดี การเจริญเติบโตทางด้านกิ่งก้านสาขาดี




ต้นเตี้ยให้ผลเร็ว ผลผลิตเฉลี่ย 5,312 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เนื้อสีเหลือง ทนทานต่อโรคจุดวงแหวน




ผลผลิต 5.3 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ภูเก็ต และสวี ซึ่งอยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน 17.7 เปอร์เซ็นต์ และ 23.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปริมาณ soluble solids สูงถึง 16.9 องศาบริกซ์ และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำเท่ากับ 0.45 เปอร์เซ็นต์ มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวี และภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา (fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทานแกนผลได้




ผลผลิต 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สีดาห้างฉัตร ซึ่งปลูกเป็นการค้าประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลเร็วกว่าพันธุ์สีดาห้างฉัตร 15 วัน เปลือกหนากว่าพันธุ์สีดาห้างฉัตร ทำให้เก็บไว้ได้นาน




ผลผลิตเฉลี่ย 1,151 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า ห้วยสีทน 1 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบด่าง ผลสุกผิวแดงเข้ม เรียบเป็นมันเมื่อแห้ง




ผลผลิตเฉลี่ยเมื่ออายุ 5-7 ปี ประมาณ 38.67 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์เขียวเสวย และสายฝน ร้อยละ 30 เเละ 11 ตามลำดับ คุณภาพผลผลิต ดีกว่าพันธุ์เขียวเสวย และสายฝน คือผลแก่จัดเนื้อกรอบ รสชาติหวานมัน เสี้ยนน้อย ผลสุกมีสีเนื้อเหลืองอ่อนรสชาติหวาน มีวิตามินซีสูงกว่า อัตราส่วนดอกเกสรสมบูรณ์เพศและดอกเกสรตัวผู้ของ KS2 มากกว่า พันธุ์เขียวเสวย ร้อยละ 6.34 ออกดอกติดผลก่อนฤดูกาลประมาณ 15 วัน มีความต้านทานโรคยางไหลมากกว่ามะม่วงเขียวเสวยประมาณร้อยละ 5-10 ของลำต้น




ผลผลิตเฉลี่ยเมื่ออายุ 5-7 ปี ประมาณ 43 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์ Arumanis และหนังกลางวันร้อยละ 21 และ 22 ตามลำดับ คุณภาพผลผลิต เนื้อละเอียด เสี้ยนน้อย รสชาติหวาน กลิ่นหอม ขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์ Arumanis คือน้ำหนัก 400 กรัมต่อผล ผู้บริโภคชอบรสชาติมาก ออกดอกติดผล ก่อนฤดูปกติของพันธุ์ Arumanis 15 วัน มีความต้านทานโรคแอนแทรกโนสมากกว่าพันธุ์ Arumanis และหนังกลางวัน




ผลผลิตเฉลี่ย 2,617 กิโลกรัมต่อไร่สูงกว่าพันธุ์อื่น ๆที่เกษตรกรนิยมปลูกมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้แก่ใยอาหาร ร้อยละ 4.85 และมีฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เทียบเท่ากับสาร Trolox 1.183 มิลลิกรัมต่อฝักสด 1 กิโลกรัม




ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งเฉลี่ยมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เฉลี่ย 9 ปี ให้ผลผลิต 3.94 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ที่เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วไปประมาณ 73.8 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดได้มาตรฐานคือ มีน้ำหนัก 17.95 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้ง ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 15 กรัมต่อ 100 เมล็ดแห้งประมาณ 16.4 เปอร์เซ็นต์




1.)ฝักสดสีม่วงแดง แตกต่างไปจากที่มีอยู่ในท้องตลาด มีปริมาณแอนโธไซยานินสูง 2.)รสชาติหวานมัน กรอบ เนื้อแน่น ฝักเรียบ ฝักตรง เหมาะสำหรับบริโภคสดความยาวเฉลี่ย 50 เซนติเมตร 3.)ให้ฝักสดผลผลิตเฉลี่ย 3,290 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 27.9 เปอร์เซ็นต์ 4.)ผลผลิตสูงเมื่อปลูกปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว (กันยายน – พฤศจิกายน) ซึ่งโดยทั่วไปผลผลิตถั่วฝักยาวจะต่ำในฤดูหนาว




เก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 104.7 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์การติดผลหลังดอกบาน 4 สัปดาห์คือ 4.69 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ชะนีร้อยละ 89.11 รูปทรงผลกลมรี น้ำหนักผลประมาณ 2.65-3.61 กิโลกรัม เฉลี่ย 3.19 กิโลกรัม (ค่าเฉลี่ยจาก 3 ปี) เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 40.23 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหนา 0.89 เซนติเมตร สีเนื้อเหลือง เนื้อค่อนข้างละเอียดเหนียว รสชาติดี หวานมัน กลิ่นอ่อนมาก เนื้อคงสภาพได้นาน ไม่เละหลังจากปลิดหลุดหรือหล่น




เก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนช่องเดือนมีนาคม - เมษายน อายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 94.7 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์การติดผลเมื่อ ดอกบานนาน 4 สัปดาห์ คือ 4.93 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ชะนีร้อยละ 98.79 รูปทรงผลกลมรี ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 1.52-2.27 กิโลกรัม เฉลี่ย 1.89 กิโลกรัม (ค่าเฉลี่ยจาก 3 ปี) เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 5.28 เปอร์เซ็นต์ เนื้อหนา 0.92 เซนติเมตร เนื้อสีเหลือง รสชาติดี หวานมัน เนื้อละเอียดเหนียว กลิ่นอ่อน




เก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 97 วัน หลังดอกบาน เปอร์เซ็นต์การติดผลหลังดอกบานนาน 4 สัปดาห์ 4.37 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์ชะนีร้อยละ 76.20 ให้ผลผลิตประมาณ 96 – 155 กิโลกรัมต่อต้น ลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์รูปทรงผลขอบขนานหรือรูปไข่ น้ำหนักผลระหว่าง 2.54 – 3.67 กิโลกรัม เฉลี่ย 3.28 เนื้อหนา 1.05 เซนติเมตร มีสีเหลืองเข้ม รสชาติดี หวานมัน เนื้อละเอียด เหนียว




มีความต้านทานโรคราสนิมสูง Hemilcia vastatrix ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ สูงกว่าพันธุ์ Caturra Bourbon และ Typica ที่เกษตรกรปลูกทั่วไป ประมาณ 1.79 – 2.39 เท่า ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A ประมาณ 81.3-87.3 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 5 ปี) คุณภาพการชิมอยู่ระดับ 6.5-7.0 คะแนน (จาก 10 คะแนน) เปรียบเทียบกับ Caturra ได้ 5.5 คะแนน




ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 73.7 เปอร์เซ็นต์ คือเฉลี่ย 4 ปี (2545/46-2548/49) 349.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ขนาดเมล็ดได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการคือมีน้ำหนัก 16.2 กรัมต่อ100 เมล็ดแห้ง การทดสอบคุณภาพการชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2




ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ 55.8 เปอร์เซ็นต์ คือเฉลี่ย 4 ปี (2545/46-2548/49) 207.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อายุการเก็บเกี่ยวสั้น 9 เดือน และเก็บเกี่ยวหมดก่อนพันธุ์อื่นๆ 1-2 เดือน การทดสอบคุณภาพ การชิมเป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการ โดยจัดอยู่ใน Class 7.2




มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 10.62 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (5เปอร์เซ็นต์) 112.4 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (8 เปอร์เซ็นต์) 32.75 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.99 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (6 เปอร์เซ็นต์) 33.17 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (7 เปอร์เซ็นต์) 14.14 เปอร์เซ็นต์ มี ar-turmerone 47.90 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน มีเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) ให้ผลผลิตหัวสดในภาคใต้ประมาณ 2.23 ตันต่อไร่




มีกลีบประดับสีขาว หรือ W 155 A โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society(RHS) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 39 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) เมื่อตัดขณะดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ และ 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 7 วัน




กลีบประดับสีบานเย็น หรือ RP 58 B โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 3 ปี หลังปลูก) เมื่อตัดขณะดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ และ80 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 8 วัน




ให้ผลผลิตเฉลี่ย 106 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 3 ปี หลังปลูก) กลีบประดับสีแดง หรือ R 47 B โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) เมื่อตัดขณะดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ 50 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการปักแจกัน 8 วัน และตัดขณะดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 7 วัน




ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 136 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 3 ปี หลังปลูก) ช่อดอกสีชมพูหรือ R 56 A โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) เมื่อตัดขณะดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 13 วัน ถ้าตัดขณะดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ และ 80 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 7-8 วัน




เมื่อตัดขนาดดอกบาน 30 เปอร์เซ็นต์ จะมีอายุการปักแจกันได้นาน 14 วัน ตัดขนาดดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์ มีอายุการปักแจกันนาน 11 วัน ช่อดอกสีแดงเข้ม หรือ R 46 A โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 48 ดอกต่อกอต่อปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก)




1. ให้ผลผลิตหัวสดในภาคใต้ประมาณ 2.59 ตันต่อไร่ 2. มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 11.04 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย 120.80 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย 29.67 เปอร์เซ็นต์ และมี ?- turmerone 23.38 เปอร์เซ็นต์ (เก็บเกี่ยวเมื่อขมิ้นชันอายุ 11 เดือนหลังปลูก) 3. เนื้อในหัวมีสีส้มแกมแดง หรือ Orange Group 28 B โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS)




1. ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งสูง (ความชื้นเมล็ด 13 เปอร์เซ็นต์ ) 482 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงเป็น 4.4 เท่าของพันธุ์เขาทะลุ 2. แข็งแรง โตเร็ว (vigorous) มีกิ่งให้ผล (primary branches) เป็นจำนวนมาก เริ่มให้ผลผลิตเร็ว (precocious) ผลสุกพร้อมเพรียงกัน ทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์เขาทะลุ 1-2 เดือน และเก็บเกี่ยวได้หมดภายใน 2 ครั้งเท่านั้น 3. มีอัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดแห้ง (out-turn) สูง เฉลี่ยประมาณ 24.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เขาทะลุที่ให้อัตราการเปลี่ยน 19.6 เปอร์เซ็นต์ 4. น้ำหนัก 100 เมล็ดแห้ง 15.5 กรัม เมล็ดมีขนาดปานกลาง




1. ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งสูง (ความชื้นเมล็ด 13 เปอร์เซ็นต์ ) 428 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงเป็น 3.9 เท่าของพันธุ์เขาทะลุ 2. แข็งแรง โตเร็ว (vigorous) มีกิ่งให้ผล (primary branches) เป็นจำนวนมาก เริ่มให้ผลผลิตเร็ว (precocious) ผลสุกพร้อมเพรียงกัน ทำให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์เขาทะลุ 1-2 เดือน และเก็บเกี่ยวได้หมดภายใน 2 ครั้งเท่านั้น 3. มีอัตราการเปลี่ยนจากผลสดเป็นเมล็ดแห้ง (out-turn) สูง เฉลี่ยประมาณ 25.0 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เขาทะลุที่ให้อัตราการเปลี่ยน 19.6 เปอร์เซ็นต์ 4. น้ำหนัก 100 เมล็ดแห้ง 17.0 กรัม เมล็ดมีขนาดปานกลาง




1. ให้ผลผลิตรวม 3 ปีแรก 3,378 ผลต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิ ไม่น้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต้นมะพร้าวธรรมดาจะไม่มีผลเป็นมะพร้าวกะทิ 2. ให้ผลผลิตเร็ว โดยต้นแรกออกจั่นอายุ 2 ปี 5 เดือน และต้นมะพร้าวจำนวนครึ่งหนึ่งของสวน ออกจั่นเมื่ออายุ 3 ปี 1 เดือน และให้ผลผลิตเมื่อทลายแรกสูงจากพื้นดิน 73 เซนติเมตร




1. ให้ผลผลิตรวม 3 ปีแรก 1,917 ผลต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเป็นมะพร้าวกะทิ ไม่น้อยกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ 2. ต้นแรกออกจั่นอายุ 2 ปี 7 เดือน และต้นมะพร้าวจำนวนครึ่งหนึ่งของสวน ออกจั่นเมื่อ 3 ปี 3 เดือน ให้ผลผลิตเมื่อทลายแรกสูงจากพื้นดิน 71 เซนติเมตร 3. ต้นมะพร้าวจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ของสวนให้ผลผลิตมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอม ซึ่งในแต่ละต้นจะให้ผลเป็นมะพร้าวกะทิ 25 เปอร์เซ็นต์ และเป็นมะพร้าวกะทิที่มีกลิ่นหอม 6 เปอร์เซ็นต์




1. มีความหนาเนื้อฝักมากกว่าพันธุ์พิจิตร 2 ร้อยละ 25.8 2. อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์พิจิตร 2 3 วัน 3. ผลผลิต 3,861 กิโลกรัม/ไร่ มากกว่าพันธุ์พิจิตร 2 ร้อยละ 6.3




1. อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง ตั้งแต่ 112-116 วัน หลังดอกบาน หรือเฉลี่ย 114 วัน (เฉลี่ย 5 ปี) โดยดอกบานช่วงปลายเดือนมกราคม และเก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2. การติดผลตั้งแต่ 2.80-16.30 เปอร์เซ็นต์ (เมื่อ 4 สัปดาห์) หลังดอกบาน หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 9.55 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 5 ปี) 3. มีคุณภาพดีตามมาตรฐานคุณภาพทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2541 โดยลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ เป็นลูกผสมระหว่างแม่พันธุ์ก้านยาวกับพ่อพันธุ์หมอนทอง มีลักษณะรูปทรงกลมรีแป้น ก้านผลยาว 6.56 เซนติเมตร น้ำหนักผล 2.36 กิโลกรัม ความหนาเปลือก 1.34 เซนติเมตร ความหนาเนื้อ 1.11 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผลเท่ากับ 27.05 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 28.76 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 114 วัน ลักษณะดีเด่น คือ เนื้อสีเหลืองเข้ม (YO13B) รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวมาก ละเอียด กลิ่นอ่อน




1. อายุเก็บเกี่ยวสั้นตั้งแต่ 100-109 วัน หลังดอกบาน หรือเฉลี่ย 104 วัน (เฉลี่ย 5 ปี) โดยดอกบานช่วงเดือนมกราคม และเก็บเกี่ยวได้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2. การติดผลอยู่ระหว่าง 1.32-6.45 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ 4 สัปดาห์ หลังดอกบาน หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 3.89 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 5 ปี) 3. มีคุณภาพดีตามมาตรฐานคุณภาพทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2541 โดยลักษณะภายนอกมีพูสมบูรณ์ เป็นต้นได้จากเมล็ดพันธุ์ก้านยาวที่มีการผสมเกสรแบบเปิด (Open pollination) มีลักษณะรูปทรงผลกลมรี ก้านผลยาว 5.33 เซนติเมตร น้ำหนักผล 3.42 กิโลกรัม ความหนาเปลือก 1.66 เซนติเมตร ความหนาเนื้อ 1.20 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผลเท่ากับ 25.35 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 28.07 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยวสั้น 104 วัน ซึ่งยาวกว่าพันธุ์กระดุมทองร้อยละ 8.33 ลักษณะดีเด่นคือสีเนื้อเหลืองเข้ม (YO14C) รสชาติหวานมันมาก เนื้อละเอียด เหนียวปานกลาง กลิ่นปานกลาง




1. อายุเก็บเกี่ยวปานกลางระหว่าง 112-118 วัน หลังดอกบาน หรือเฉลี่ย 115 วัน (เฉลี่ย 5 ปี) โดยดอกบานช่วงปลายเดือนมกราคม และเก็บเกี่ยวได้ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2. การติดผลอยู่ระหว่าง 5.31-11.22 เปอร์เซ็นต์ เมื่อ 4 สัปดาห์ หลังดอกบาน หรือเฉลี่ย 8.27 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 5 ปี) 3. มีคุณภาพดีตามมาตรฐานคุณภาพทุเรียนของประเทศไทย พ.ศ. 2541 โดยลักษณะภายนอก มีพูสมบูรณ์ เป็นลูกผสมแม่พันธุ์ก้านยาวกับพ่อพันธุ์หมอนทอง มีลักษณะรูปทรงผลกลมรี ก้านผลยาว 7.63 เซนติเมตร น้ำหนักผล 2.90 กิโลกรัม ความหนาเปลือก 1.73 เซนติเมตร ความหนาเนื้อ 1.45 เซนติเมตร เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผลเท่ากับ 31.38 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 21.63 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 115 วัน ลักษณะดีเด่น คือ เนื้อเหลือง (Y 11B) รสชาติหวานมันมาก เนื้อละเอียด เหนียว กลิ่นปานกลาง




1. มะนาวสายพันธุ์ M33 ทนทานต่อโรคแคงเกอร์ดีกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพ (พันธุ์การค้า) สายพันธุ์ M33 พบอาการของโรคแคงเกอร์ที่ใบร้อยละ 17.15 ส่วนพันธุ์แป้นรำไพพบอาการของโรคที่ใบร้อยละ 78.3 2. เจริญเติบโตเร็ว เมื่ออายุ 4 ปี สายพันธุ์ M33 มีความสูงต้นเฉลี่ย 219 เซนติเมตร พันธุ์แป้นรำไพมีความสูงเฉลี่ย 121 เซนติเมตร 3. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 663 ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี สายพันธุ์ M33 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 794 กิโลกรัมต่อไร่ พันธุ์แป้นรำไพให้ผลผลิตเฉลี่ย 104 กิโลกรัมต่อไร่ 4. คุณภาพผลผลิต 4.1 น้ำหนักผลมะนาวสายพันธุ์ M33 มีน้ำหนักผล 67.2 กรัม/ผล สูงกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 35.5 4.2 ปริมาณน้ำคั้น มะนาวสายพันธุ์ M33 มีปริมาณน้ำคั้น 20.5 มิลลิตรต่อผล สูงกว่ามะนาวพันธุ์แป้นรำไพร้อยละ 17.1




1. กลีบดอกสีขาว กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ วางสลับ 2 ชั้น ดอกมีขนาด 15x16 เซนติเมตร 2. กลีบดอกมีเส้นสีแดง 2 กลุ่ม เรียงตามความยาวของกลีบดอกจากโคนถึงปลาย 3. ออกดอกเป็นช่อ จำนวน 4 ดอกต่อช่อ บานทีละคู่ 4. อายุการปักแจกัน 8 วัน




1. กลีบดอกสีขาว กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ วางสลับ 2 ชั้น ดอกมีขนาด 13x13 เซนติเมตร 2. ขอบกลีบดอกสีชมพูแดง มีเส้นสีชมพูแดงเรียงตามความยาวของกลีบดอก และมีจุดประสีชมพูแดงกระจายทั่วกลีบ ยกเว้นโคนกลีบ 3. ออกดอกเป็นช่อ จำนวน 4 ดอกต่อช่อ บานทีละคู่ 4. อายุการปักแจกัน 7 วัน




1. กลีบดอกสีแดงสดปลายแหลม กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ วางสลับเป็น 2 ชั้น โคนกลีบดอกสีเขียว มีเส้นสีขาวยาวถึงกลางกลีบ ดอกมีขนาด 15x14 เซนติเมตร 2. ออกดอกเป็นช่อ จำนวน 4 ดอกต่อช่อ บานทีละคู่ 3. อายุการปักแจกัน 8 วัน




1. กลีบดอกสีแดงมีลายคล้ายร่างแห กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ วางซ้อนสลับเป็น 2 ชั้น โคนกลีบดอกมีสีเขียวมีเส้นสีขาวยาวถึงกลางกลีบดอกมีขนาด 14x13 เซนติเมตร 2. ออกดอกเป็นช่อ จำนวน 4 ดอกต่อช่อ บานทีละคู่ 3. อายุปักแจกัน 7 วัน




1. จานรองดอกสีส้มเข้ม ขนาด (กว้าง x ยาว) 13.2x17.3 เซนติเมตร 2. จำนวนดอก 5.8 ดอก/ต้น/ปี 3. อายุการปักแจกัน 12.6 วัน 4. ความยาวก้านดอก 70.8 เซนติเมตร 5. ปลี สีขาวเหลือง




1. จานรองดอกสีขาว ขนาด (กว้าง x ยาว) 14.9x20.1 เซนติเมตร 2. จำนวนดอก 6.3 ดอก/ต้น/ปี 3. อายุการปักแจกัน 12.4 วัน 4. ความยาวก้านดอก 65.7 เซนติเมตร 5. ปลี สีขาวชมพู




1. จานรองดอกสีแดง ขนาด (กว้าง x ยาว) 12.9x14.5 เซนติเมตร 2. จำนวนดอก 6.2 ดอก/ต้น/ปี 3. อายุการปักแจกัน 13.4 วัน 4. ความยาวก้านดอก 65.2 เซนติเมตร 5. ปลี สีขาวเหลือง




1. จานรองดอกสีเขียวเข้ม ขนาด (กว้าง x ยาว) 14.5x16.5 เซนติเมตร 2. จำนวนดอก 5.9 ดอก/ต้น/ปี 3. อายุการปักแจกัน 12.8 วัน 4. ความยาวก้านดอก 56.0 เซนติเมตร 5. ปลี สีขาวเขียว




1. จานรองดอกสีชมพูเข้ม ขนาด (กว้าง x ยาว) 11.7x13.5 เซนติเมตร 2. จำนวนดอก 6.2 ดอก/ต้น/ปี 3. อายุการปักแจกัน 14.4 วัน 4. ความยาวก้านดอก 52.6 เซนติเมตร 5. ปลี สีขาวเหลือง




1. อายุเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น (เฉลี่ย 95 วัน) เปรียบเทียบกับพันธุ์กระดุมทอง 2. สีเนื้อเหลืองเข้ม (Y 14 C) 3. รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวปานกลาง เส้นใยปานกลาง กลิ่นอ่อน 4. ผลรูปทรงกลมรี น้ำหนักผลอยู่ในมาตรฐานทุเรียนส่งออก




1. อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง (เฉลี่ย 114 วัน) เปรียบเทียบกับพันธุ์หมอนทอง 2. สีเนื้อเหลือง (Y11C) 3. รสชาติหวานมันดีมาก เหนียว เนื้อละเอียด เส้นใยปานกลาง กลิ่นอ่อน 4. น้ำหนักผลอยู่ในมาตรฐานทุเรียนส่งออก




1. อายุเก็บเกี่ยวค่อนข้างยาว (เฉลี่ย 138 วัน) เปรียบเทียบกับพันธุ์อีหนักและพันธุ์ทองย้อยฉัตร (130 วัน) 2. สีเนื้อเหลือง (Y10A) 3. รสชาติหวานมัน เนื้อเหนียวละเอียด 4. น้ำหนักผลอยู่ในมาตรฐานทุเรียนส่งออก




1. ทนทานต่อโรคใบไหม้ในฤดูแล้งได้ดีมีความรุนแรงของการเกิดโรค 13 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่พันธุ์Atlantic มีความรุนแรงของการเกิดโรคมากถึง 78 เปอร์เซ็นต์ 2. ในฤดูแล้งให้ผลผลิต 3,162 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์ Atlantic ให้ผลผลิต 3,031 กิโลกรัมต่อไร่มันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่ 1 ให้ผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 51 สูงกว่าพันธุ์ Atlantic คิดเป็นร้อยละ 2 3. ในฤดูฝนให้ผลผลิต 3,429 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์ Atlantic ให้ผลผลิต 2,486 กิโลกรัมต่อไร่ มันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่ 1 ให้ผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 58 สูงกว่าพันธุ์ Atlantic คิดเป็นร้อยละ 16




1. ทนทานต่อโรคใบไหม้ในฤดูแล้งได้ดีมีความรุนแรงของการเกิดโรค 25 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่พันธุ์Atlantic มีความรุนแรงของการเกิดโรคมากถึง 78 เปอร์เซ็นต์ 2. ในฤดูแล้งให้ผลผลิต 3,608 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่พันธุ์ Atlantic ให้ผลผลิต 3,031 กิโลกรัมต่อไร่ มันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่ 2 ให้ผลผลิตคิดเป็นร้อยละ 54 สูงกว่าพันธุ์ Atlantic คิดเป็นร้อยละ 8




1. ให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเส้นใบเหลืองผลผลิตรวม 3,817.1 กิโลกรัมต่อไร่ (3,319.1-4,155.6 กิโลกรัมต่อไร่) ผลผลิตที่ได้มาตรฐานส่งออก 2,514.9 กิโลกรัมต่อไร่ (2,051.2-3,077.9 กิโลกรัมต่อไร่) 2. ฝักตรง สีเขียว ห้าเหลี่ยม และความยาวฝัก 7-12 เซนติเมตร 3. เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้




1. ให้ผลผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดูเพราะไม่ทิ้งใบหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดู ทำให้สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี 2. จำนวนเมล็ดมากกว่า 15 เมล็ดต่อฝัก ฝักตรงเมล็ดมีขนาดสม่ำเสมอเรียงชิดติดกันทำให้ง่ายต่อการบรรจุฝักลงภาชนะ




จำนวนเมล็ดน้อยประมาณ 0-2 เมล็ดต่อผล คุณภาพผลดีเทียบเท่าส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งที่ไม่ฉายรังสี




1. มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาด คือมีผลเรียวยาว ขนาดผล 3.0-3.8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว ผลสีเขียว (YG 144A) ผิวเรียบเป็นมัน ผลสุกสีแดง (R 44B) ให้ผลผลิต 860-1,339 กิโลกรัมต่อไร่ 2. สามารถปลูกกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องใช้ร่มเงา 3. เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์จากแปลงปลูกเพื่อปลูกในรุ่นต่อไปได้




1. มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาด คือ มีผลเรียวยาว ขนาดผล 3.0-3.8 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว ผลสีเขียว (YG 144A) ผิวเรียบเป็นมัน ผลสุกสีแดง (R 44B) ให้ผลผลิต 860-1,339 กิโลกรัมต่อไร่ 2. สามารถปลูกกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องใช้ร่มเงา 3. เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์จากแปลงปลูกเพื่อปลูกในรุ่นต่อไปได้




1. ลักษณะดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ ซ้อนเวียน 2. ผลผลิตดอกสดเฉลี่ย 2,122 กิโลกรัมต่อไร่ 3. เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกเร็วกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 6 วัน 4. ปริมาณแอนโทไซยานินรวมมากกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกลีบดอกสด 100 กรัม




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 102 ผล/ต้น/ปี หรือ 2,252 ผล/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์ลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 25 2. ผลขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,882 กรัม/ผล มากกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 หรือเกณฑ์มาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร 3. น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ยสูง 337 กรัม/ผล/ปี หรือ 766 กิโลกรัม/ไร่/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 34 และ53 ตามลำดับ 4. น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัม/ต้น/ปี สูงกว่าพันธุ์สวีลูกผสม 1 และลูกผสมชุมพร 2 ร้อยละ 31 และ50 ตามลำดับ









1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557) 2. สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน 3. มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม




1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557) 2. สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน 3. มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม




1. ลักษณะช่อดอกเป็นทรงกระบอกสั้น กลีบประดับสีชมพูเข้ม กลีบเรียงซ้อนกันเป็นระเบียบสวยงามและบิดเป็นเกลียว ส่วนพันธุ์ไทยบิวตี้ กลีบประดับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 2. ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 50 - 70 วัน น้อยกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่ใช้เวลา 80 - 83 วัน 3. ผลผลิตช่อดอกมาก 3 - 4 ดอก/กอ มากกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่มีจำนวน 2 - 3 ดอก/กอ 4. อายุการใช้งานนาน 4 - 7 สัปดาห์ มากกว่าพันธุ์ไทยบิวตี้ที่มีอายุการใช้งานนานประมาณ 4 - 5 สัปดาห์




1. ลักษณะช่อดอกเป็นรูปทรงกระสวย สวยงาม แปลกใหม่ กลีบประดับทั้งส่วนบนและส่วนล่างมีสีชมพู ดูอ่อนหวาน ส่วนลักษณะช่อดอกของปทุมมาเชียงใหม่ชมพู เป็นทรงดอกบัว 2. ผลผลิตช่อดอกมาก 6 - 8 ดอก/กอ มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่ออกดอก 3 - 6 ดอก/กอ 3. การแตกกอดี ผลผลิตหัวพันธุ์ 5 - 9 หัว/กอ มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มี 4 - 7 หัว/กอ 4. อายุปักแจกันนาน 13 วัน มากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มีอายุปักแจกัน 9 วัน




1. ผลผลิตสดเฉลี่ยสูงถึง 1,596 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เกษตรกร 10.60 เปอร์เซ็นต์ 2. มีค่าความเผ็ดเท่ากับ 73,879 SHU ค่าความเผ็ดต่ำกว่าพันธุ์เกษตรกร (220,169 SHU) จัดเป็นพริกที่มีความเผ็ดต่ำ เหมาะกับการเป็นพริกบริโภคสด




1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร 23% สูงเทียบเท่าพริกลูกผสมแม่ปิง 80 ในฤดูปลูกปกติ (แล้ง) และให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อปลูกในช่วงที่มีฝนตกชุก พริกใหญ่พันธุ์พิจิตร 2 ให้ผลผลิต 2,174 – 2,926 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพริกแม่ปิง 80 ให้ผลผลิต 1,289 – 3,298 กิโลกรัมต่อไร่ 2. มีต้นสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้าทำให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว โดยมีต้นสูง 78.3 เซนติเมตร พริกพื้นเมืองสูงประมาณ 57 เซนติเมตร ส่วนพริกแม่ปิง 80 สูงประมาณ 72 เซนติเมตร 3. ผลมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด คือ มีขนาดใหญ่เรียวยาว ยาว 11.7 เซนติเมตร เนื้อหนาเฉลี่ย 1.95 มิลลิเมตร สีแดงเข้มและเผ็ดน้อย โดยมีความเผ็ด 26,800 สโควิลล์ ตรงกับความต้องการของโรงงานผลิตซอสพริก เผ็ดน้อยกว่าพริกแม่ปิง 80




1. ลักษณะช่อดอกเป็นทรงกระบอกสั้น กลีบประดับสีขาวเรียงตัวเป็นระเบียบ อยู่ระดับเดียวกับใบ ส่วนพันธุ์ไทยบิวตี้ กลีบประดับเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 2. ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง เหมาะสำหรับผลิตเป็นไม้ดอกกระถางขนาดกลาง 3. ออกดอกเร็ว อายุปลูกถึงให้ดอก 56 - 62 วัน แต่พันธุ์ไทยบิวตี้ ใช้เวลา 80 - 83 วัน 4. ผลผลิตช่อดอก 2 - 3 ดอก/กอ และให้ดอกพร้อมกัน 5. อายุการใช้งานในกระถางนาน 4 - 5 สัปดาห์หลังดอกบาน




1. กลีบประดับแยกชั้นอย่างชัดเจน โดยกลีบประดับส่วนบนสีชมพูปลายกลีบแต้มสีเขียวลายเส้น สีแดง กลีบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย กลีบประดับส่วนล่างสีเขียว ด้านล่างของกลีบมีวงสีน้ำตาลแดง ก้านช่อดอกตรง แข็งแรง ส่วนลักษณะช่อดอกของปทุมมาเชียงใหม่ชมพู เป็นทรงดอกบัว 2. ผลผลิตช่อดอก 3 - 7 ดอก/กอ 3. ผลผลิตหัวพันธุ์ 4 - 7 หัว/กอ 4. อายุปักแจกันนาน 14 วัน ซึ่งมากกว่าพันธุ์ปทุมมาเชียงใหม่ชมพูที่มีอายุปักแจกัน 9 วัน




1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 3,617 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 35 2. ปริมาณแป้งร้อยละ 23.4 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 846 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 36 3. มีปริมาณขนาดหัวที่โรงงานต้องการร้อยละ 86.2 ของน้ำหนักรวม มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 6.20




1. ให้ผลผลิตสูง 4.4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ ร้อยละ 42 และสูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 175 หรือ 1.7 เท่า 2. ปริมาณเนื้อสูงร้อยละ 47.9 ซึ่งมากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ มีปริมาณเนื้อร้อยละ 43.2 หรือมากกว่าร้อยละ 10.9 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น มีปริมาณเนื้อร้อยละ 41.8 หรือมากกว่าร้อยละ 14.6 3. ฝักมีขนาดใหญ่ ความยาว 15.78 เซนติเมตร มากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษร้อยละ 3.5 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นร้อยละ 30 ความหนาฝัก 1.99 เซนติเมตร มากกว่าพันธุ์ศรีสะเกษร้อยละ 15.6 และมากกว่าพันธุ์ท้องถิ่นร้อยละ 18.4 4. จำนวนฝักต่อกิโลกรัมเท่ากับ 48.5 ฝัก น้อยกว่าพันธุ์ศรีสะเกษที่มีจำนวนฝักเท่ากับ 50 ฝักต่อกิโลกรัม และพันธุ์ท้องถิ่นที่มีจำนวนฝักเท่ากับ 63.5 ฝักต่อกิโลกรัม




1. ผลผลิตสูง ผลผลิตเมล็ดทั้งเปลือกต่อต้นเฉลี่ย 3 ปี (อายุ 5-7 ปี) ค่าเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับ 5.38 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 23.1 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 63 2. น้ำหนักเมล็ดทั้งเปลือกต่อเมล็ดสูง น้ำหนักเมล็ดทั้งเปลือกต่อเมล็ดเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับ 8.5 กรัม ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 13.3 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 15 3. เปอร์เซ็นต์เมล็ดเนื้อในสูง เปอร์เซ็นต์เมล็ดเนื้อในเฉลี่ย 2 สถานที่ เท่ากับร้อยละ 30.8 สูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 ร้อยละ 8.1 และสูงกว่าพันธุ์ศรีสะเกษ 60-2 ร้อยละ 12




1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 19.8 2. เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์การค้า อย่างน้อย 1 เดือน




1. ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 6.62 ตัน/ไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด ศก.1 ร้อยละ 23.51 2. มีปริมาณวิตามินซี (Ascorbic acid) สูงถึง 43.3 mg/100g FW ซึ่งสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ศก.1 ร้อยละ 36.59 3. มีปริมาณกรดที่ไทเทรตได้สูงถึงร้อยละ 0.93 ให้รสเปรี้ยวมากกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ ศก.1 ร้อยละ 32.86




1. สารซาโปนินทั้งต้นเฉลี่ย 11.47 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 52 2. ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 210.5 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 31 3. อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน สั้นกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 วัน




1. ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ 291.1 มิลลิกรัม/ตารางเมตร สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 29 2. ผลผลิตน้ำหนักสด 2,635 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 34 น้ำหนักแห้ง 240.3 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 28 3. ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ มากกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีใบย่อย 5 ใบ




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงเข้ม (R53A) กลีบประดับหนาเรียงเป็นระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอก สีแดงอมเขียว (R51A) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 7.58 x 7.73 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 133.29 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 35.4 3. ผลผลิตดอก 386 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 101 4. อายุปักแจกัน 5 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงอมส้ม (R53C) ขอบกลีบประดับสีเขียวอ่อนเด่นสะดุดตาเรียงซ้อนหลายชั้นเรียงเป็น ระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG143B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 7.02 x 7.39 เซนติเมตร เล็กกว่า พันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 98.00 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 52.48 3. ผลผลิตดอก 300 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 56.25 4. อายุปักแจกัน 6 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงสด (R45A) ขอบกลีบประดับสีขาวเรียงเป็นระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอก สีเขียวอมเหลือง (YG152B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 8.29 x 8.66 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 157.86 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 23.45 3. ผลผลิตดอก 227 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 18.23 4. อายุปักแจกัน 5 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. ช่อดอกทรงถ้วย สีชมพูอมแดง (PR73B) กลีบประดับหนา ขอบกลีบประดับสีขาวเรียงเป็นระเบียบ คล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG152B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 8.07 x 7. 93 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แดงดกที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 135.39 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 34.35 3. ผลผลิตดอก 280 ดอกต่อกอต่อปี มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 45.83 4. อายุปักแจกัน 6 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์




1. อัตราส่วนน้ำหนักเนื้อ : น้ำหนักผลเฉลี่ย 0.29 สูงกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 26 2. แกนเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางแกน 2.17 – 2.87 ซม. เล็กกว่าพันธุ์ปัตตาเวียร้อยละ 13.3 – 15.3 3. ผลทรงกระบอก Canning ratio 0.93 – 0.99 เหมาะสำหรับการบรรจุกระป๋อง 4. ความหวานเฉลี่ย 13.9 – 17.9 องศาบริกซ์ หวานกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 14.4 องศาบริกซ์ 5. ตาตื้น ความลึกตาเฉลี่ย 0.73 – 0.81 ซม. 6. ผลผลิตเทียบเท่ากับพันธุ์ปัตตาเวียซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ




1. เครือใหญ่ น้ำหนักเครือเฉลี่ย 5.7 กิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 14.0 2. ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 33.8 กรัม สูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง ร้อยละ 3.0 เนื้อแน่น เหมาะสำหรับการแปรรูปกล้วยอบและกล้วยฉาบ และบริโภคผลสุก 3. การจัดเรียงของผลในหวีเป็นระเบียบเหมาะแก่การบรรจุหีบห่อ




1. ผลผลิตเฉลี่ยสูง ให้ผลผลิต 30.8 กิโลกรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์แขกดำศรีสะเกษซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบร้อยละ 12 2. ผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผล 1.8 กิโลกรัม เนื้อหนา 3.34 เซนติเมตร เหมาะสำหรับบริโภคสดและแปรรูป




1. ให้ผลผลิตสูง 1.1 น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (13.7 กิโลกรัม) ร้อยละ 17 1.2 จำนวนหวีเฉลี่ย 9.8 หวีต่อเครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (8.9 หวี) ร้อยละ 10 2. คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม 2.1 วิตามินบี 3 0.006 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (0.003 มิลลิกรัม) ร้อยละ 97 2.2 โพแทสเซียม 309 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (279 มิลลิกรัม) ร้อยละ 11 3. ลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม เนื้อมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสหวานไม่ปนเปรี้ยว




1. ความต้านทานต่อโรคราสนิมสูง 2. เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ (green bean หรือ coffee bean) 569.6 กรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 537.5 กรัมต่อต้น 3. ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.8 เปอร์เซ็นต์ 4. คุณภาพการชิม (cup quality test) 78-79.5 คะแนน เปรียบเทียบกับ พันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้ 76 คะแนน




1. ความต้านทานต่อโรคราสนิมสูง 2. เมื่ออายุ 8 ปี ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ (green bean หรือ coffee bean) 623.65 กรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 537.5 กรัมต่อต้น 3. ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.89 เปอร์เซ็นต์ 4. คุณภาพการชิม (cup quality test) 76 - 79 คะแนน เปรียบเทียบกับ พันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้ 76 คะแนน




1. ผลผลิตทุกผลเป็นมะพร้าวกะทิ ให้ผลผลิตที่อายุ 8 ปีขึ้นไป มากกว่า 100 ผลต่อต้นต่อปี หรือมากกว่า 2,200 ผลต่อไร่ต่อปี 2. น้ำหนักผล 2,032 กรัม มีขนาดกลาง-ใหญ่ 3. เริ่มออกจั่นครึ่งหนึ่งของประชากรเมื่ออายุ 3 ปี 6 เดือน และทุกต้นเมื่ออายุ 3 ปี 9 เดือน 4. เริ่มเก็บเกี่ยวครึ่งหนึ่งของประชากรเมื่ออายุ 4 ปี 8 เดือน และทุกต้นเมื่ออายุ 4 ปี 11 เดือน 5. มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เส้นใยอาหารสูง 7.24 กรัม/100 กรัม และ ไขมันต่ำ 5.78 กรัม/100 กรัม




1. การให้ผลผลิต 1.1 ให้ผลผลิตรวมเฉลี่ย 1,554 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้า 2 เปอร์เซ็นต์ 1.2 ให้ผลผลิตมาตรฐานเฉลี่ย 1,118 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้า 17 เปอร์เซ็นต์ 1.3 ให้ผลผลิตมาตรฐานชั้นพิเศษ A ตูมเฉลี่ย 682 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้า 2 เปอร์เซ็นต์ 2. ปลายยอดหน่อตูมแน่นเป็นรูปสามเหลี่ยม และคุณภาพหน่อได้ตามมาตรฐานการส่งออก




1. เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 8 – 12 เดือน 2. ให้จำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย 1.97 เมล็ด น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 1 จำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย 24.7 เมล็ด 3. ให้ความหนาเปลือกเฉลี่ย 1.78 มิลลิเมตร น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 1 ความหนาเปลือกเฉลี่ย 2.36 มิลลิเมตร 4. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,050 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์แป้นรำไพ ร้อยละ 141 เมื่ออายุต้น 3 ปี




1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,282 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น (มันกระต่าย) ร้อยละ 22.6 2. มีปริมาณขนาดหัวที่ตลาดต้องการ (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวตั้งแต่ 2.50 เซนติเมตร ขึ้นไป) ร้อยละ 89.1 ของน้ำหนักรวม มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 9.10 3. เนื้ออ่อนนุ่ม รสชาติหวานปานกลาง




1. ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี (อายุต้น 6 -7 ปี) 1,225 กิโลกรัมต่อไร่จำนวนผลเฉลี่ย 1,080 ผลต่อไร่ และน้ำหนักผล 1.16 กิโลกรัมต่อผล สูงกว่าพันธุ์ทองดี ที่ให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 743 กิโลกรัมต่อไร่คิดเป็นร้อยละ 64 จำนวนผลเฉลี่ย 720 ผลต่อไร่ และน้ำหนักผล 0.94 กิโลกรัมต่อผล 2. รสชาติจหวาน มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เฉลี่ย 11.6 องศาบริกซ์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของพันธุ์ทองดีที่ให้ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ 10.4 องศาบริกซ์ 3. เนื้อกุ้งสีขาวอมชมพูอ่อนและฉ่ำน้ำน้อย แตกต่างจากส้มโอพันธุ์ทองดีที่เนื้อกุ้งสีขาวอมชมพู และ ฉ่ำน้ำปานกลาง




1. การให้ผลผลิต 1.1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,069 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์Bella 20 และ 18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 1.2 ให้ผลผลิตได้มาตรฐานการส่งออกเฉลี่ย 2,375 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิจิตร 1 และพันธุ์Bella 63 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 2. รูปร่างฝักตรง ห้าเหลี่ยม ขนนุ่ม สีเขียวสม่ำเสมอทั้งฝัก คุณภาพฝักได้ตามมาตรฐานการส่งออกและตลาดภายในประเทศ




1. ให้ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,073 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 43 เปอร์เซ็นต์ 2. ให้ผลผลิตแห้งเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 52 เปอร์เซ็นต์ 3. ให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์เฉลี่ย 4.38 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 36 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 29 เปอร์เซ็นต์




1. ผลผลิต 7.20 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 33 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณวิตามินซี 30.03 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 23 เปอร์เซ็นต์ 3. ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (Total Acid, TA) 0.52 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 22 เปอร์เซ็นต์ 4. อัตราส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ (Brix/Acid ratio) 33.26 สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง 31 เปอร์เซ็นต์ 5. เนื้อแน่น นุ่มละเอียด เมื่อสุกเนื้อสีเหลืองเข้ม




1. ผลผลิตเฉลี่ย 1,942 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ร้อยละ 46.27 2. อายุเก็บเกี่ยวฝักแรก 44 วันหลังปลูก เร็วกว่าพันธุ์น่าน 1 เท่ากับ 5 วัน 3. สีฝักสดมีสีม่วงเข้มกว่าพันธุ์น่าน 1 มีปริมาณสารแอนโทไซยานินเฉลี่ย 187.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด สูงกว่าพันธุ์น่าน 1 ที่มีค่าเท่ากับ 115.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักสด 4. ความหนาเนื้อเฉลี่ย 2.05 มิลลิเมตร มากกว่าพันธุ์ น่าน 1 ที่มีความหนาเนื้อเฉลี่ย 1.53 มิลลิเมตร 5. ฝักตรง ผิวฝักย่น มีความยาวฝักสดเฉลี่ย 44.88 เซนติเมตร และมีความยาวฝักสูงสุด 49.46 เซนติเมตร เหมาะสำหรับการรับประทานฝักสด เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูงสุด




1. ความต้านทานต่อโรคราสนิมสูง 2. ผลผลิตน้าหนักสด 3,086.80 กรัมต่อต้น ผลผลิตสารกาแฟ (green bean หรือ coffee bean) เฉลี่ย 567.60 กรัมต่อต้น สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 80 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 540 กรัมต่อต้น 3. ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A เฉลี่ย 81.92 เปอร์เซ็นต์ 4. คุณภาพการชิม (cup quality test) 76.75 คะแนน เปรียบเทียบกับ พันธุ์เชียงใหม่ 80 ได้ 76 คะแนน