ข้าว มีทั้งสิ้น 70 รายการ
ผลผลิตประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นางพญา 132 ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ มีความต้านทานโรคไหม้ได้ดี
ผลผลิต 560 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 4-6 เปอร์เซ็นต์ มีความทนแล้งดี โดยเฉพาะในท้องที่ที่มีความแห้งแล้ง มีความต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล คุณภาพในการหุงต้มมีกลิ่นหอมและรับประทานดี เช่นเดียวกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105
ผลผลิต 585 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ ข้าวเหนียวสันป่าตองประมาณ 9-12 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพที่มีน้ำและ 35-39 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพที่แห้งแล้ง มีความทนแล้งดีกว่าพันธุ์ ข้าวเหนียวสันป่าตอง คุณภาพในการหุงต้มและรับประทานดีเหมือนพันธุ์ ข้าวเหนียวสันป่าตอง ลำต้นแข็งไม่ล้มง่ายต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
เมล็ดยาวเรียวผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 640 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวขึ้นน้ำพันธุ์พื้นเมือง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ทนน้ำท่วมได้ประมาณ 1 อาทิตย์ เมื่อต้นข้าวจมอยู่ใต้ผิวน้ำ (ใส)ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ฟื้นตัวได้เร็วหลังจากน้ำท่วม ต้านทานโรคขอบใบ แห้งปานกลาง ต้านทานแล้งปานกลาง
ชูรวง คอยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกเป็นพืชแซมยางได้ คุณภาพหุงต้มและรสชาติดี ต้านทานโรคไหม้โรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคใบขีดสีน้ำตาล
ทนแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวไร่ในภาคใต้ และปลูกเป็นพืชแซมยาง การชูรวงดี คอรวงยาวเหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ ต้านทานโรคไหม้โรคใบจุดสีน้ำตาลโรคใบขีดสีน้ำตาล และต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ปานกลาง
ผลผลิตสูงมีเมล็ดต่อรวงมากทนต่อสภาพน้ำท่วม เมื่อต้นข้าวจมอยู่ใต้ผิวน้ำ (ข้าวขึ้นน้ำ) ทนน้ำลึกได้ประมาณ 1 เมตร และทนน้ำท่วมยอดระดับไม่เกิน 50 เซนติเมตร ได้ในเวลาไม่เกิน 1 อาทิตย์ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพระดับน้ำธรรมชาติให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ปิ่นแก้ว 14 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดยาวเรียว ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล ต้านทานแล้งปานกลาง
ปลูกได้ทั้งสภาพไร่และสภาพนา ทนแล้งปานกลาง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี ลักษณะเมล็ดยาวเป็นที่นิยมของตลาดคุณภาพการขัดสีและการหุงต้มดีได้ข้าวนึ่งที่อ่อนนุ่มคล้ายข้าวเหนียวสันป่าตองและ กข 10 มีความต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งในสภาพธรรมชาติ
ผลผลิต 700 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการสีดี ข้าวสารสวย ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติและต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ผลผลิตสูงทั้งในสภาพที่มีและไม่มีโรคใบหงิกระบาด ต้นเล็กแต่แข็งกว่ากข 21 เมล็ดยาวเรียว ข้าวสารสวยข้าวสุกค่อนข้างร่วนมีความนุ่มพอเหมาะเเละรสดี มีความสามารถในการต้านทานโรคใบหงิกโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ปลูกเป็นข้าวนาปรังในเขตที่มีน้ำเค็มเข้าถึงทำให้เก็บเกี่ยวได้ทันก่อนน้ำเค็มจะไหลบ่าเข้านามีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และต้านทานหนอนกอปานกลาง ให้ผลผลิตเฉลี่ยจากแปลงทดลอง 650 กิโลกรัมต่อไร่
ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลอง เฉลี่ยประมาณ 600 กิโลกรัมต่อไร่ ทนน้ำท่วมได้ดีพอสมควรหลังปักดำประมาณเดือนครึ่งข้าวสารมีคุณภาพดีข้าวที่หุงสุกแล้วนุ่มคล้าย กข 7 ต้านทานโรคใบหงิก โรคกาบใบแห้งโรคไหม้ระยะคอรวงในสภาพธรรมชาติ
เมล็ดเรียวยาวไม่ร่วงง่ายต้านทานโรคไหม้ปานกลางคุณภาพข้าวสุกนุ่มเหนียวหุงต้มและรับประทานดีผลผลิตเฉลี่ย 660 กิโลกรัมต่อไร่
ผลผลิตค่อนข้างสูง ประมาณ 270 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพมอท์ลเป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
ผลผลิตค่อนข้างสูง เฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพมอท์ลเป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
ผลผลิต 330 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและค่อนข้างต้านทานโรคราสนิม แป้งที่นวดแล้ว มีความยืดหยุ่นใช้ทำขนมปัง และทำแป้งเอนกประสงค์ดี
ผลผลิต 450 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดี ปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลางมีสีคล้ำคุณภาพแป้งใช้ทำขนมปังได้
คุณภาพเมล็ดดีกว่า กข 13 ผลผลิตดีกว่าข้าวนางพญา 132 ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาลและต้านทานปานกลางต่อเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 660 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดยาว คุณภาพการหุงต้มดีอายุเบากว่า กข 8 และข้าวเหนียวสันป่าตองประมาณ 1 อาทิตย์ ต้านทานโรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติดี พอสมควร
ชูรวงและระแง้ถี่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 247 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้และต้านทานโรคเมล็ดด่างได้ดีในสภาพธรรมชาติเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศหนาวและบนที่สูงตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูง
ผลผลิตประมาณ 425 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดดีกว่าพันธุ์ กข 19 มีปริมาณท้องไข่น้อย เพียง 1.81 มีความสามารถในการทนแล้งได้ดี ต้านทานโรคไหม้ มีปริมาณอมัยโลสต่ำกว่าพันธุ์ กข 19 และคุณภาพข้าวสุกนุ่มกว่า
ผลผลิตเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ ลำต้นไม่ล้มง่าย ปรับตัวได้ดีในสภาพไร่ทั่วไป ต้านทานโรคไหม้ต้านทานโรคหูดปานกลาง
ผลผลิต 280 กิโลกรัมต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน ต้านทานต่อโรคราสนิมปานกลาง เมล็ดค่อนข้างใหญ่กว่าพันธุ์สะเมิง 1 และพันธุ์สะเมิง 2 เยื่อหุ้มเมล็ดมีสีเหลืองนวล แป้งที่ได้เหมาะสำหรับการทำคุกกี้ บิสกิต และขนมปัง
ผลผลิตเฉลี่ย 285 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิมปานกลาง เมล็ดขนาดใหญ่กว่า พันธุ์สะเมิง 1 และพันธุ์สะเมิง 2 เยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลืองนวล แป้งใช้ประโยชน์เอนกประสงค์ แต่ที่เหมาะสมคือทำคุกกี้ปาท่องโก๋ และโรตี
ผลผลิต 248 กิโลกรัมต่อไร่ นวดง่าย ออกรวง 17-22 กันยายน ในระดับความสูง 800-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ข้าวสุกค่อนข้างแข็งมีกลิ่นหอมเล็กน้อย มีความต้านทานต่อโรคไหม้สูง มีความต้านทานปานกลางต่อโรคขอบใบแห้ง
อายุสั้นทนแล้งดีกว่าซิวแม่จันเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรให้ผลผลิต 252 กิโลกรัมต่อไร่ อายุประมาณ 106-134 วัน มีความต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้
ผลผลิตสูงในที่ลุ่มสภาพนาน้ำฝนและมีเสถียรภาพมากให้ผลผลิต 564 กิโลกรัมต่อไร่ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาวในสภาพเรือนทดลอง ทนทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในสภาพนา ที่ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ย ตั้งตัวได้เร็วหลังปักดำ และทนทานต่อการทำลายของปู ทนดินเค็ม ปานกลาง
ผลผลิตเฉลี่ย 457 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นข้าวที่มีระบบรากแข็งแรง ตั้งตัวได้เร็ว คอรวงยาวเหมาะที่จะเก็บเกี่ยวด้วยแกระ จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก คุณภาพข้าวสุกมีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ ช่อจังหวัด คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีกว่าพันธุ์ กข 13 มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบเล็กน้อย เมล็ดมีน้ำหนักดี ทนแล้งได้ดีในระยะแตกกอให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองในสภาพนาน้ำฝนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง
ผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ คือในสถานีเฉลี่ย 557 กิโลกรัมต่อไร่ ในนาราษฎร์ 550 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพได้มาตรฐาน มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและโรคใบหยิกได้ดีกว่าพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และต้านทานแมลงบั่ว
ผลผลิตเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวมีกลิ่นหอมคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่หุงสุกแล้วร่วนแบบเดียวกับข้าวขาวตาแห้ง 17 คุณภาพเมล็ดดี ยาวเรียว เลื่อมมันใสเป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีเป็นข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานโรคกาบใบเน่าโรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติ
ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ กข 1 กข 7 และ กข 23 คุณภาพได้มาตรฐานทำข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ได้ ต้านทานโรคกาบใบเน่า และค่อนข้างต้านทานโรคไหม้โรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลปานกลาง
ผลผลิตประมาณ 700 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า กข 7 ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าพันธุ์ กข 7 ต้านทานโรคไหม้ดีกว่าพันธุ์ กข 23 คุณภาพเมล็ดดี เมล็ดยาวเรียวสม่ำเสมอดีมาก เมล็ดใสเป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพการหุงต้มรับประทานดีเช่นเดียวกับพันธุ์ กข 23 ตอบสนองต่อปุ๋ยในระดับเศรษฐกิจสูง
ผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 330 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าปลูกในสภาพที่เหมาะสมให้ผลผลิตสูงถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ สะเมิง 1 ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ สามารถปรับตัวได้ดีในท้องถิ่นที่มีสภาพร้อนและแห้งแล้ง ความสามารถในการปรับตัวเฉลี่ยทั่วประเทศพบว่า ดีกว่าพันธุ์ สะเมิง 1 และแพร่ 60 ค่อนข้างต้านทานต่อโรคราสนิมใบ ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium มีการทำลายของหนอนกอน้อยมากเมื่อเทียบกับพันธุ์ สะเมิง 1
เมล็ดมีสีเหลืองนวล ให้แป้งชนิดอเนกประสงค์ เหมาะสำหรับทำคุกกี้ บิสกิต และขนมปัง และทำแบะแซได้ดีด้วย สามารถปรับตัวได้ดีในภาคเหนือและในที่สูง คือสามารถจะขึ้นได้ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานพันธุ์ สะเมิง 1 พันธุ์สะเมิง 2 พันธุ์แพร่ 20 และพันธุ์ฝาง 60 และสามารถปรับตัวทั่วประเทศได้ดีกว่าพันธุ์มาตรฐานทั้งสิ้น ยกเว้นพันธุ์ฝาง 60 ผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศประมาณ 330 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ผลผลิตสูงถึง 700 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์มาตรฐานสะเมิง 1 มีการเข้าทำลายของหนอนกอน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ
ผลผลิต 556 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูแล้งและให้ผลผลิต 686 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูฝน มีความต้านทานต่อโรคแมลงที่สำคัญแบบ multiple resistance ต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้มในสภาพธรรมชาติดีกว่าพันธุ์ข้าว กข 23 และสุพรรณบุรี 60 ต้านทานโรคไหม้เช่นเดียวกับพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 ในขณะที่ กข 23ไม่ต้านทาน ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระดับเดียวกับ กข 23 แต่ดีกว่าสุพรรณบุรี 60 ให้ผลผลิตสูงตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี
ในฤดูแล้งให้ผลผลิตเฉลี่ย 754 กิโลกรัมต่อไร่ และในฤดูฝนให้ผลผลิตเฉลี่ย 725 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า กข 23 ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 653 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคใบหงิก ค่อนข้างต้านทานโรคไหม้ เมล็ดยาวกว่า กข 23 และมีท้องไข่น้อยตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดี
ผลผลิตสูง 600-700 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้ และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี
ผลผลิตเฉลี่ย 380 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้า ขึ้นน้ำได้ดี ทนแล้ง ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวปานกลาง
ผลผลิต 418 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม กลิ่นหอมเล็กน้อย มีความทนทานต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็มภาคใต้ได้ดี
ผลผลิตค่อนข้างสูงประมาณ 480 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในสภาพนาซึ่งเป็นที่ลุ่ม น้ำแห้งช้า มีคุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกอ่อนนุ่มรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภคข้าวอ่อนนุ่มในภาคใต้
ผลผลิตสูง 470 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวได้ดีทั้งในสภาพพื้นที่นาดอนและนาลุ่ม อายุเบาคุณภาพการหุงต้มดี หุงง่ายทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ภายหลังเก็บเกี่ยวสามารถสีบริโภคได้ทันที เป็นที่นิยมของตลาดในท้องถิ่น
ผลผลิต 806 กิโลกรัมต่อไร่ ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี ต้านทานต่อโรคแมลงที่สำคัญแบบ multiple resistance ต้านทานโรคไหม้ เช่นเดียวกับพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 60 และดีกว่าพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 ในบางพื้นที่ต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้มในสภาพธรรมชาติ ต้านทานโรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90
อายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่า กข 23 และสุพรรณบุรี 90 คุณภาพเมล็ดสูง ทำข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ ได้ดีต้านทานโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง ทนทานต่อโรคใบหงิก ให้ผลผลิตเฉลี่ย 700 กิโลกรัมต่อไร่ ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี คุณภาพข้าวสุกอ่อน
ผลผลิตสูงเฉลี่ย 718 กิโลกรัมต่อไร่ ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐาน ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนได้ดีกว่าพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นพันธุ์อื่น ๆ และขายได้ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป
ผลผลิตสูงเฉลี่ย 707 กิโลกรัมตอไร่ ในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูณ์ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี ตรงตามมาตรฐานสำหรับผู้บริโภคข้าวญี่ปุ่น ราคาขายสูงกว่าราคาขายข้าวทั่วไป
ข้าวเจ้าหอมมีคุณภาพ เมล็ดทางกายภาพและทางเคมีคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกได้ตลอดปี อายุประมาณ 120 วัน เมื่อปลูกแบบปักดำ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าขาวดอกมะลิ 105
ต้นเตี้ย ไม่ล้ม ให้ผลผลิตประมาณ 650 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นข้าวเจ้าหอมมีคุณภาพเมล็ดทางเคมีและการหุงต้มคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปลูกได้ตลอดปีต้านทานต่อโรคแมลง ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 อายุสั้นมีผลดีต่อการลดต้นทุนในการดูแลรักษา
ผลผลิตสูงและตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี ตั้งแต่ 6-12 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ต้านทานโรคไหม้ ทนทานดินเค็ม อายุเก็บเกี่ยวเบากว่าพันธุ์ข้าว กข 6 และสามารถใช้ในระบบการปลูกพืชหมุนเวียนได้
ข้าวเจ้าทนน้ำลึกให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 500 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์หันตรา 60 และ กข 19 ถึง 18 และ 23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คุณภาพการสีเป็นข้าวขาว 10-15 เปอร์เซ็นต์ ทนน้ำท่วมปานกลาง สามารถจมอยู่ใต้น้ำได้นาน 7-10 วัน ยืดปล้องได้ปานกลาง ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นเวลานานได้ ทนแล้งและทนดินเปรี้ยวปานกลาง ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนได้ดีในสภาพดินเปรี้ยว ต้านทานต่อโรคใบไหม้และโรคใบขีดโปร่งแสงปานกลาง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวขนมจีนและแป้ง
ผลผลิตเฉลี่ย 579 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก คุณภาพเมล็ดดีสามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เหนียวนุ่มและมีกลิ่นหอมเหมือนข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
ผลผลิต 620 กิโลกรัมต่อไร่ ในนาน้ำฝนและนาชลประทานในฤดูนาปี ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ทนทานต่อดินเค็มดีกว่าพันธุ์ กข 15 และขาวดอกมะลิ 105 ทนทานต่อความแห้งแล้งระดับเดียวกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 รูปร่างเมล็ดยาวเรียว คุณภาพการขัดสีและการหุงต้มดี และสามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น เส้นหมี่ เส้นขนมจีน แผ่นแป้งได้
ต้านทานต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้งดี ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ยประมาณ 630 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข 10 ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ข้าวเหนียวสุกอ่อนนุ่มกว่า กข 10 เล็กน้อย เป็นข้าวเหนียวที่สามารถปลูกได้ตลอดปี
ข้าวเจ้าหอม ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดเรียวยาวคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหุงสุกง่าย มีลักษณะนุ่มเหนียวเช่นเดียวกับข้าวหอมมะลิ ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โดยมีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่าข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีและข้าวเจ้าชัยนาท 1 ให้ผลผลิตค่อนข้างสูงประมาณ 650-774 กิโลกรัมต่อไร่
ผลผลิตเฉลี่ย 807 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ซึ่งให้ผลผลิต 716 กิโลกรัมต่อไร่ มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว คุณภาพเมล็ดดี รูปร่างเรียวยาว ท้องไข่น้อย คุณภาพสีดีมาก
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุสั้นกว่าพันธุ์ กข 10 มีคุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกนุ่มและมีกลิ่นหอมใกล้เคียกับพันธุ์ กข 6 ปรับตัวได้หลายสภาพทั้งในสภาพนาดอน นาชลประทาน และสภาพไร่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นข้าวน้ำลึกที่มีทรงลักษณะต้นใหม่ คือต้นเตี้ยฟางแข็งไม่ล้มง่าย การปลูกในสภาพนาระดับน้ำปกติ (25 เซนติเมตร) มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูง 846 กิโลกรัมต่อไร่ ในสภาพที่มีระดับน้ำมากกว่าปกติ (100 เซนติเมตร) มีศักยภาพในการให้ผลผลิต 590 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองต้นสูงที่เกษตรกรนิยมปลูก มีความสามารถในการยืดปล้องและทนน้ำท่วมได้ปานกลาง ในช่วงข้าวอายุ 30-40 วัน ค่อนข้างทนทานต่อดินเปรี้ยว มีความต้านทานต่อโรคไหม้ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ต้านทานต่อหนอนกอ สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
ผลผลิตสูงในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 และสุพรรณบุรี 2 23 และ 29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีอายุสั้นกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 7-10 วัน ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งดีกว่าพันธุ์ข้าวชัยนาทและสุพรรณบุรี 2
ผลผลิตเฉลี่ย 604 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข 27 และขาวตาแห้ง 17 13 และ 21 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับมี อมิโลส 23.65 เปอร์เซ็นต์ ข้าวเมื่อหุงสุกแล้วค่อนข้างอ่อนนุ่ม ต้านทานเชื้อโรคไหม้ในภาคกลางได้ดีกว่า กข 27 และขาวตาแห้ง 17
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 391 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าข้าวไร่พันธุ์เจ้าฮ่อ ร้อยละ 6 ข้าวสุกนุ่ม
ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 529 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี ร้อยละ 16 ลักษณะต้นแข็งไม่ล้ม ต้านทานโรคขอบใบแห้งดีกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี
ผลผลิตสูงเฉลี่ย 582 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขามเหนี่ย ที่เกษตรกรนิยมปลูกร้อยละ 52 คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกเหนียวนุ่ม รสชาติดีตรงตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภคระดับท้องถิ่น ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูง
1.)เป็นข้าวอายุสั้น(103-105 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านตม) ซึ่งสั้นกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 ประมาณ 7-9 วัน 2.)ต้นเตี้ย สูงประมาณ 83-95 เซนติเมตร 3.)คุณภาพการหุง เป็นข้าวร่วน มีกลิ่นหอม เป็นทางเลือกของผู้บริโภคที่ชอบข้าวร่วนประเภทข้าวเสาไห้ แต่มีกลิ่นหอม 4.)ค่อนข้างต้านทานถึงต้านทาน ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 5.)ให้ผลผลิตเฉลี่ย 657 กิโลกรัมต่อไร่(ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม) ซึ่งใกล้เคียงกับพันธุ์ปทุมธานี 1 (643 กิโลกรัมต่อไร่)
อายุการเก็บเกี่ยว 90-95 วัน ปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม และ 110-115 วัน ปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ผลผลิตสูงในสภาพการปลูกข้าวก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลด ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทราผลผลิตฤดูนาปี 705 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูนาปรัง 827 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียวที่จังหวัดปราจีนบุรี
1.)เป็นข้าวน้ำลึกที่มีรูปทรงต้นแบบใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงที่ระดับน้ำ 25 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 842 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำลึก 100 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 546 กิโลกรัมต่อไร่ 2.)อายุเบากว่าข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ออกดอก 6-10 พฤศจิกายน สามารถปลูกในพื้นที่ ที่น้ำแห้งนาประมาณต้นเดือนธันวาคม 3.)มีความสามารถยืดปล้อง ทนน้ำท่วมและทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ทนดินเปรี้ยว (PH 4.6–5.1) ได้ดีในระดับเดียวกัน 4.)ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวและต้านทานได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 หันตรา 60 กข 19 และเหลืองประทิว 123 5.)สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นบะหมี่ ขนมจีน ก๋วยจั๊บ
1.)ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1 2.)ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เช่นเดียวกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1 3.)ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 722 กิโลกรัม/ไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์สุพรรณบุรี 1
1.)ให้ผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และ 389 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในพื้นที่ระดับความสูง 1,000-1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.)เป็นข้าวเจ้าชนิดไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ในพื้นที่ระดับความสูง 800-1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.)คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดสูง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม 4.)ต้านทานโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.)
1.)เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง 2.)ข้าวกล้องพันธุ์สังข์หยด มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี มีปริมาณไนอาซิน(Niacin) 6.46 มิลลิกรัม ใยอาหาร 4.81 กรัม และธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม จากตัวอย่างข้าวกล้อง 100 กรัม